การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุง การใช้รูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูภาษาไทยที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน เป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นจำนวน 18 โรงเรียน ที่ได้รับการคัดกรองเป็นนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จำนวน 150 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เนื้อหา 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบบันทึกการสังเกต 4) แบบทดสอบ 5) แบบสอบถาม 6) แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Journal Writing) 7) แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเฉลี่ยร้อยละ( %) ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)นำเสนอข้อมูลของการวิจัยในลักษณะพรรณนาความ และการพรรณนาความประกอบตาราง
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ใช้ชื่อเรียกว่า เทวาโมเดล (THEWA coaching Model) ซึ่งมีขั้นตอนการนิเทศ 5 ขั้น คือ 1) ฝึกอบรมและวางแผนเป็นทีม สร้างวิสัยทัศน์และผู้นำ (Training and Team planning : T) 2) ทุ่มเททำงานเต็มที่และเสริมพลังการทำงานเป็นทีมร่วมกัน (Hearting and Team empowering : H) 3) กระตุ้นส่งเสริมสู่การศึกษาบทเรียนและการนิเทศ (Encouraging to Lesson study and Supervising : E) 4) ปฏิบัติการทำงานและสะท้อนผล (Working out and Reflecting : W) และ 5) ประเมินผลและปรับปรุงในไปใช้ (Assessing and Implementing : A)
2. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศ โดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่ารูปแบบการนิเทศมีประสิทธิภาพ และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ ของรูปแบบการนิเทศ โดยนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้สอนมีความสามรถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของนักเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยใช้รูปแบบการนิเทศโดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ โดยใช้เครือข่ายการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนของครูภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด