การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการ
ของการวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้าง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุด นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสม จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินความเหมาะสมของ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการวิจัย คือ One – Group Pretest – Posttest Design
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ t – test
แบบ Dependent ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คู่มือครู และชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT มี 3 ขั้นตอน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำไปทดลองใช้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.99/82.44 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด