ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2
เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางพัชราภรณ์ จันปัดถา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชัน เอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 48 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นปรนัยแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.77 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.9188 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ การทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มการทดลองกลุ่มเดียว สอบก่อนและสอบหลังเรียน(One Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.32/87.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7314 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7314 คิดเป็นร้อยละ 73.14
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD รายวิชา ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 2 เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63