ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๐ จังหวัดชุมพร
ชื่อผู้ประเมิน นายเดชจะนันท์ ศิริมาลา
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๐ จังหวัดชุมพร โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์
(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 572 คน ซึ่งได้โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและวิธีสุ่ม
อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ และแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาและทดลองใช้จนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านบริบท เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของโครงการ และความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมเห็นว่าด้านบริบทของโครงการ
มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.59)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และความพอเพียง ด้านทรัพยากรต่าง ๆ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมเห็นว่าด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความสอดคล้อง เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.70)
3. การประเมินด้านกระบวนการ เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ช่วงเวลา
การดำเนินการ และการกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.79)
4. การประเมินด้านผลผลิตพบว่า
4.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความรู้พื้นฐานด้านอาชีพมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.85 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85.00 ของคะแนนเต็ม
4.2 ผลการประเมินการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (X-bar = 2.35)