ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการ
ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัด
เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อผู้วิจัย นางปรียา โกละกะ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน เทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ดำเนินการในปีการศึกษา 2557 การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ 1) ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ จำนวน 29 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 3) คณะกรรมการผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 391 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 433 คน ส่วนที่ 2 คือ 1) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน 2) พนักงานครู จำนวน 23 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน รวม 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในส่วนที่ 1 ได้แก่ 1. แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3. แบบประเมินรูปแบบการบริหาร และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนที่ ๒ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กรอบการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่วนใหญ่มองว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาหรือคณะทำงานที่โรงเรียนแต่งตั้งขึ้นเท่านั้น คณะกรรมการสถานศึกษาหรือชุมชนเป็นเพียงผู้รับฟังเท่านั้น ครูให้ความร่วมมือกับชุมชนน้อย โดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียน คณะครูต้องการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานของโรงเรียน เช่น การสอนของครู ด้านอาคารสถานที่ การรักษาความสะอาดของโรงเรียน ให้ครูร่วมกันออกความคิดเห็น ให้ครูเข้าร่วมในการบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มิใช่ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารเท่านั้น
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รับความร่วมมือในการบริหารจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารมากขึ้นในรูปแบบของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และตัวแทนชุมชนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแต่โรงเรียนมีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนควรปรับปรุงด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอ การสร้างองค์ความรู้จะทำให้ครูมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานโดยเฉพาะเรื่องการประกันคุณภาพ จัดอบรมคณะครูส่วนใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจในระเบียบวิธีการประเมินภายในและการประเมินภายนอก ของ สมศ. ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาและให้เห็นความสำคัญของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและการประกันคุณภาพภายนอกเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ต่อไป
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบว่า ครูมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนโดยผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการประชุม และผู้บริหารร่วมประชุมกับชุมชนในการประชุมขององค์กรปกครองท้องถิ่นทุกครั้งทำให้ได้รับทราบข้อมูลใน การสะท้อนสภาพปัญหาจากชุมชนตลอดเวลาและได้รับการพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผลทำให้นักเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้นตามกรอบมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่น
4. การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) ทำให้ได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น และชุมชนให้การสนับสนุนโรงเรียนมากขึ้น นักเรียนได้รับการจัดการศึกษาตามความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของชุมชนภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่นและทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนบรรลุประสิทธิผลคือ ผู้เรียนมีคุณภาพ เก่ง ดีและมีความสุข และคณะครูและกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังเห็นว่าควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อคิดเห็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกด้านโดยจัดตั้งเป็นกลุ่มคณะกรรมการผู้ปกครองโดยคัดเลือกตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของสถานศึกษาเพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมการการบริหารสถานศึกษาด้วยอีกทางหนึ่ง
ชื่องานประเมิน : รายงานผลการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียน
การสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง)สังกัดเทศบาลตำบล
กาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ประเมิน : ปรียา โกละกะ
ปีที่ประเมิน : ปี 2558
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง)สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ในครั้งนี้ เพื่อประเมินการดำเนินงานของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์โดยใช้รูปแบบประเมิน CIPPIEST Modalมีวัตถุประสงค์1)เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการทำโครงการ ความเหมาะสมและความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้2)เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากร ระยะเวลา ในการดำเนินงาน ความพอเพียงของงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการ3)เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจกรรมที่ดำเนินการตามภารกิจของโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของโครงการตามวัตถุประสงค์ 5)เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ6)เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านวิชาการของนักเรียนด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่าและความพึงพอใจที่มีต่อผลผลิตของโครงการ7)เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ ทักษะ และกระบวนการปฏิบัติของนักเรียน8)เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของนักเรียนประชากรประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู จำนวน 29 คนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมินโครงการ ซึ่งมีความเที่ยงตรงตามกรอบการประเมินทุกฉบับ สำหรับการวิเคราะห์ได้ดำเนินการโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่าในภาพรวมของด้านบริบท (Context Evaluation) ผลการประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ รูปแบบของโครงการเป็นไปตามนโยบายเพิ่มคุณภาพด้านการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมครูมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำสิ่งใหม่ๆ ทางการศึกษามีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมโครงการมีเนื้อหาในการอบรมตรงกับความต้องการและความสนใจของครูผู้เข้าร่วม และระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้มีความเหมาะสมรูปแบบของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนมีความเหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาครูมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ดีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรม วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมครูมีความตั้งใจในการเข้าร่วมโครงการ มีรางวัลหรือค่าตอบแทนในการคิดค้นนวัตกรรมสื่อเครื่องมือในการอบรมมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการ และผู้รับผิดชอบติดตามกำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ด้านการประเมินปัจจัยของโครงการ (Input Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านปัจจัยของโครงการ (Input Evaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ การอบรมดำเนินไปตามขั้นตอนที่กำหนดเน้นความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนกระบวนการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบการวิจัย มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบอย่างทั่วถึงมีการทดสอบก่อนการอบรมการกำหนดกิจกรรมมีรายละเอียดชัดเจนวิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาและข้อสงสัย มีการประเมินผลการดำเนินการโครงการอย่างเป็นระบบมีการวางแผนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนการจัดกิจกรรมระหว่างการอบรมมีความเหมาะสมคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯเอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
3. ด้านการประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่า ในภาพรวมของ ด้านกระบวนการของโครงการ (Process) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่ครูสร้างหรือพัฒนาขึ้นมีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนครูสามารถกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพปัญหาในการพัฒนานวัตกรรม มีการจัดทำเอกสารสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศรายปีของหน่วยงาน ครูมีความสามารถในการตรวจสอบและปรับปรุงนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ นวัตกรรมที่ครูสร้างหรือพัฒนาขึ้นมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ครูมีความสามารถในการจัดลำดับขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม ครูสามารถกำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรมครูมีความรู้ในการออกแบบนวัตกรรม
4. ด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบล กาญจนดิษฐ์ พบว่าในภาพรวมของ ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมทำให้ครูมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ครูดำเนินผลิตสื่อและนวัตกรรมได้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แม่นยำ จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้สอดรับกับการปฏิบัติงานจริง สรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ครูมีนวัตกรรมและสามารถเป็นแบบอย่างได้ โรงเรียนมีสื่อและนวัตกรรมได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้เข้าอบรมได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบในการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียนนำนวัตกรรมไปพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน ใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้ถูกต้อง จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้และนำไปใช้ครอบคลุมความต้องการของสถานศึกษา สรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสื่อและนวัตกรรมการประเมินนำไปใช้ในการรายงาน แบบสรุปผลประเมินโครงการมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ กะทัดรัด
5. ด้านผลกระทบของโครงการ (Impact Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านผลกระทบของโครงการ (ImpactEvaluation) ผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนนวัตกรรมของครูสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียนการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านประสิทธิผลของโครงการ(EffectivenessEvaluation
)ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่ใช้ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นกระบวนการพัฒนาเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียนทุกฝ่ายรูปแบบและวิธีการสะดวกในการนำไปใช้และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงนวัตกรรมที่ใช้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทำให้มีคุณภาพมากขึ้นนวัตกรรมของครูทำให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้เร็วขึ้นนวัตกรรมเป็นเครื่องมือของความสำเร็จในทุกกิจกรรมของโรงเรียน
7. ด้านประเมินความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในภาพรวมของ ด้านความยั่งยืนของโครงการ (SustainableEvaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมฯทำให้ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายการพัฒนานวัตกรรมของครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นกว่าเดิมสรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ครูสามารถออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการได้ครอบคลุม และครูสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
8. ด้านประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ (Transportability Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ (TransportabilityEvaluation)ทุกข้อ นวัตกรรมมีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนนวัตกรรมช่วยให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้นเป็นการส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลายนวัตกรรมทำให้ค้นพบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน
ผลการสัมภาษณ์ครู
1. ด้านปัจจัยโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมโครงการพบว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมสามารถพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ครูนักเรียนมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของครูที่ต้องการหาความรู้ในการคิดค้นวิธีการให้เหมาะสมกับนักเรียนสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของโครงการและมีข้อเสนอแนะว่าควรเชิญตัวแทนครูทุกกลุ่มสาระเข้ารับการอบรมด้วยเพื่อการทำกิจกรรมที่มีข้อจำกัดด้วยระยะเวลานี้จะได้ประโยชน์สูงสุด
2. ด้านกระบวนการ
ได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการพบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการได้ดูแลเอาใจใส่ในการดำเนินงานตามกิจกรรมวิทยากรให้ความรู้มีความชัดเจนและระยะเวลาในการอบรมค่อนข้างน้อยนวัตกรรมของครูส่งผลต่อผู้เรียนในระดับมากมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีการศึกษาดูงานนวัตกรรมในระดับต่างๆส่วนครูโรงเรียนได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการได้ดูแลเอาใจใส่ในการดำเนินงานตามกิจกรรมวิทยากรให้ความรู้มีความชัดเจนและระยะเวลาในการอบรมค่อนข้างน้อยมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีการศึกษาดูงานนวัตกรรมในระดับต่างๆ
3. ด้านผลลัพธ์
พบว่านวัตกรรมของโรงเรียนคือด้านการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมและด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้รับการยอมรับในระดับเห็นด้วยมากโดยได้สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมกับคณะครูที่จะส่งผลต่อผู้เรียนให้มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมีการกำหนดเป็นนโยบายหลักของโรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนานวัตกรรมตามกลุ่มสาระที่รับผิดชอบให้งบประมาณสนับสนุนเพิ่มจากที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนส่วนครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลลัพธ์ของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมในระดับเห็นด้วยมากมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมอย่างชัดเจนโดยการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการได้อย่างครอบคลุมมีการเผยแพร่และได้รับการยอมรับทั้งในและนอกโรงเรียนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นมีความรู้ความเข้าใจจากผู้รับผิดชอบโครงการและมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทั้งในและนอกโรงเรียนทำให้มีแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการมีส่วนมีการประชุมในการทำงานร่วมกันมีการจัดการในการดูแลนักเรียนในการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิดได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบโดยสนับสนุนงบประมาณเพิ่มจากที่ได้จากเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์
4. ด้านข้อมูลย้อนกลับ
พบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ด้านผู้บริหารปัจจุบันใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือให้ครูได้ทำงานด้วยความมั่นใจและมีผลงานเป็นที่ยอมรับครูสามารถพัฒนานวัตกรรมตามกลุ่มสาระที่รับผิดชอบและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงมีการเผยแพร่นวัตกรรมและชนะการประกวดของภาคใต้การจัดแสดงผลงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมทั้งในและนอกโรงเรียน ครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลย้อนกลับของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่ามีผลงานได้รับการยอมรับจากชุมชนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายมีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องมีความสามารถในการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักและรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้รับการยอมรับเป็นผู้นำทางวิชาการและนวัตกรรมของครูเป็นเครื่องมือในการทำวิจัยในชั้นเรียน