ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล
(ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นายนิรันดร์ พูลแก้ว ตำแหน่ง ครู วิทยาฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเอกสารประกอบการเรียน วิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนของรายวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของปีการศึกษา 2558 ซึ่งมีจำนวน 35 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนโดยมีการทดสอบค่าที (t-test) และค่าคะแนนเฉลี่ย (X-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์เจตคตินักเรียนต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการศึกษามีผลปรากฏดังนี้
1. ผลของการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 83.02/90.23 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง การใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินเจตคติ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา ศ 23203 ดนตรีสากล (ปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม (X-bar) เท่ากับ 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.47 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ในการพิจารณาเจตคติจะพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติอยู่ในระดับ ดีมาก