เรื่องที่ศึกษา รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้รายงาน นางสนธยา ประทุมมาศ
โรงเรียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 (ชุมชนบ้านคีรีวง) อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 (ชุมชนบ้านคีรีวง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 24 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย
1. แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นทั้งหมด 5 เล่ม
2. คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งใช้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ จำนวน 20 แผน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว จำนวน 30 ข้อ
4. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 20 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติที (T-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84/85ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการ
อ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ
เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33 , S.D. = 0.74