การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา (สุขศึกษา)
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่ จำนวน 9 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ รวมทั้งหมด 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน
12 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) จำนวน 14 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีประสิทธิผล (I.E.) และค่า t test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.38/84.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7796 แสดงว่า หลังจากเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคแล้ว นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.96
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากบ 4.69 อยู่ในระดับ มากที่สุด