ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงาน วิชาการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเมืองสมเด็จ
อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้วิจัย นายสุรพงษ์ ภูแสงศรี
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวักกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการด้วยกระบวนกรวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แนวคิดของเคมมิสและแม็กแทกการ์ท ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คนทีมครูจัดการความรู้งานวิชาการ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเจาะจง (Purposive Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการ การวิเคราะห์เอกสารการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนรวม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์วิทยา
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ
1) ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการความรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้และการนิเทศการสอน
2) กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย การระบุความรู้ การพัฒนาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้ ประสิทธิผลจากการนำรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จงหวัดกาฬสินธุ์ ไปใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบริหาร คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการและทีมครูจัดการความรู้งานวิชาการในทุกขั้นตอน มีการสนับสนุนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ครูนำการจัดการความรู้ไปพัฒนากระบวนการเรียนรู้ นักเรียนเกิดทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงาน
TITLE A DEVELOPMENT OF THE KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL FOR
ACADWEMIC ADMINSTRATION IN MAUNGSOMDET ASAN SCHOOL
BY PARTICIPATORY ACTION RESEARCH
AUTHOR MR. SURAPONG PHUSANGSRI
EDUCATIONAL INSTITUTE MAUNGSOMDET SCHOOL, AMPHOE SOMDET,
CHANG WATKALASIN
DATE 2016
ABSTRACT
The purpose of this studs was to develop a knowledge managent model for academic administration in Maungsomdet school using participatory action research process as proposed by Maungsomdet and McTaggart. The major iformants of this study consisted of one administrator, eight teachers, and five basic education committee who were randomly selected according to the set criteria form Maungsomdet school. Data were collected by document analysis, in-depth interview and participatory observation. The phenomenological analysis was used to analyze the collecteh data.
The results of the study were as follows:
A Knowledge management model for academic administration in Maungsomdet school consisted of the main components:
(1) Academic administration, involved developing lerning processes which include leaening management planning, learning processes management, and teaching supervision;
(2) Knowledge management process involved knowledge identification, knowledge development, knowledge creation, knowledge organization, knowledge accessibility, knowledge sharing and learning. The implementation of knowledge management model for academic administration using participatory action research process in Maungsomdet school resulted changes in school administration. Specifically, it encouraged not only a participative administration style of administration but also teamwork among academic KM teahers in every step as well as administrators support of knowledge-sharing and technology using in teaching and, leaning processes. Teachers also adopted knowledge management process to improve their teaching-learning process. For student, knowledge management process enabled them to analyze, synthesize, and share their knowledge in working.
ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างเสริมวินัยนักเรียนด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้เสนอผลงาน นายสุรพงษ์ ภูแสงศรี
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การมีวินัยด้านความประพฤติและด้านการแต่งกายเป็นการสร้างเสริมคุณลักษณะอันคือประสงค์ให้เกิดแก่ผู้เรียน และเป็นหลักสำคัญของการสร้างเสริมวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ส่งผลให้นักเรียน
มีการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งผลให้เกิดความสงบสุขทั้งตนเองโดยรวม การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานสร้างเสริมวินัยนักเรียนด้วยการวิจัยเชิงปฎิบัติการโรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 ด้าน คือ ด้านความประพฤติ
และด้านการแต่งกาย วิธีการศึกษาใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ศึกษาค้นคว้าและครูที่ปรึกษา จำนวน 12 คนโดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มี 6 ชนิด ได้แก่
แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบรายงานการปฏิบัติหน้าที่ แบบบันทึกการประชุม และสมุดนิเทศภายใน การวิเคราะห์ประมวลผล การจัดกระทำและตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคแบบสามเศร้า (Triangulation technique) นำเสนอในรูปของความเรียงเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมวินัยนักเรียน
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. ก่อนการพัฒนา นักเรียนขาดวินัยด้านความประพฤติ ได้แก่ การไม่เคารพครู ผู้ปกครอง
เล่นการพนัน ทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน เสพสิ่งเสพติดคิดเป็นร้อยละ35.21 นักเรียนแต่งกายไม่เป็นไปตามระเบียบที่โรงเรียนกำหนด ได้แก่ สวมเครื่องแบบไม่ถูกต้อง ใส่เครื่องประดับ ทรงผมไม่ถูกต้องแต่งหน้าใส่น้ำหอมมาโรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 28.38 ส่งผลให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนการปกครองนักเรียน
การพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม การให้ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อโรงเรียน บรรยากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. การดำเนินการพัฒนา กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคือ การประชุมแบบมีส่วนร่วมกิจกรรมสร้างเสริมวินัยนักเรียนและการนิเทศภายใน ซึ่งกิจกรรมสร้างเสริมนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมเยี่ยมบ้าน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมยกย่องชุดชูเกียรตินักเรียน กิจกรรมการอบรมหน้าเสาธง และกิจกรรมโฮมรูม เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงระเบียบวินัยด้านความประพฤติและด้านการแต่งกายให้นักเรียนมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการกำกับติดตามผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งผลให้นักเรียนมีวินัยในตนเองในด้านความประพฤติที่ดีงาม รวมถึงด้านการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ ข้อกำหนดของโรงเรียน
3. ผลการพัฒนา ด้านความประพฤติ นักเรียนมีวินัยด้านความประพฤติดีขึ้น รู้จักรู้จักเคารพครูผู้ปกครอง ไม่เล่นการพนัน ไม่ทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน ไม่เสพสิ่งเสพติด ยังเหลือนักเรียนที่ต้องได้รับการสร้างเสริมวินัยด้านนี้เพียงร้อยละ 6.50 และด้านการแต่งกายนักเรียนมีวินัยด้านการแต่งกายถูกต้องตามเป็นไปตามระเบียบตามที่โรงเรียนกำหนดเพิ่มขึ้นเช่นกัน สวมเครื่องแบบถูกต้อง ไม่ใส่เครื่องประดับ ทรงผมถูกต้อง
ไม่แต่งหน้า ไม่ใส่น้ำหอม โดยจะมีนักเรียนที่ต้องได้รับการสร้างเสริมวินัย ด้านนี้เพียงร้อยละ 3.59 เท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ผู้ร่วมศึกษาและกลุ่มผู้ร่วมศึกษาจัดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ในด้านการมีวินัยด้านความประพฤติ และด้านการแต่งกาย เป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ของการประพฤติที่ดีและการตกแต่งที่ดีด้วย