ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา
เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นายกมลรัชต์ ภูบุญล้น ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะชีววิทยา เรื่อง
การสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ประชากรที่ใช้ใน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ห้องเรียน 44 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำนวน 44 คน
ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื้อหาที่ใช้คือ เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะชีววิทยาจำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ ซึ่งเป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 7 ฉบับ เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ฉบับละ 10 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Raiting Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งผลการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพบว่า แบบฝึกทักษะชีววิทยาและแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.45 ถึง 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.80 และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้ง 7 ฉบับเท่ากับ 0.64, 0.60, 0.65, 0.61, 0.68, 0.60 และ 0.65 ตามลำดับ
มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ใช้วิธีการทดลองแบบ One-Group Pre test - Post test Design จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมทางการเรียน พฤติกรรมกลุ่ม ตรวจสอบผลงานนักเรียน ประเมินทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน และทดสอบหลังเรียน นำข้อมูลที่ได้
มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบท้ายแบบฝึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ
หลัง โดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า
1. แบบฝึกทักษะชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.20/86.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา เท่ากับ 0.7560
3. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในแต่ละแบบฝึกทักษะชีววิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกชุด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจต่อการเรียน
เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้แบบฝึกทักษะชีววิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด