การดำเนินงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูเขียว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ที่เรียนด้วยแบบทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนภูเขียว ปีการศึกษา 2558 จำนวน 526 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1/7 โรงเรียนภูเขียว ปีการศึกษา 2558 จำนวน 49 คน ซึ่งผู้วิจัยได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน จำนวน 8 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน จำนวน 30 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ประสิทธิภาพ การทดสอบค่าสถิติ t-test แบบ Dependent และวิเคราะห์ความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
(1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.13 /77.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
(3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 รองลงมาได้แก่ ด้านสื่อการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ตามลำดับ และด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50