การพัฒนาระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน
วีรยุทธ ปรุงชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อม
การเรียนรู้โรงเรียนเขว้าวิทยายน ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ระบบบริหารจัดการสภาพ
แวดล้อมการเรียนรู้พัฒนาระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และศึกษาผลการใช้ระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โรงเรียนเขว้าวิทยายน การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบ 4 ระยะ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ประเมินองค์ประกอบของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้บริหาร และครูโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน จำนวน 58 คน ระยะที่ 3 ออกแบบระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินความต้องการจำเป็น (PNImodified) และศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ (best practice) จำนวน 3 โรง ประเมินระบบและคู่มือระบบโดยเทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และระยะที่ 4 นำระบบไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายสถานศึกษา บุคลากร งบประมาณ วัสดุในการดำเนินงาน การจัดการ และการมีส่วนร่วม ด้านกระบวนการ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ สภาพแวดล้อมในห้องเรียน สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ บรรยากาศชั้นเรียน การสร้างการเรียนรู้ และการสอนและหลักสูตร ด้านผลผลิต ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ความพึงพอใจของครูและผู้บริหารสถานศึกษา และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครู ด้านข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การรายงานผลและข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้อง และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
2. สภาพปัจจุบันของระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายนโดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและมีสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเขว้าวิทยายนประกอบด้วย 6 หน่วยระบบย่อย ได้แก่ สภาพแวดล้อมในห้องเรียน สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ บรรยากาศชั้นเรียน การสร้างการเรียนรู้ และการสอนและหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย นโยบายสถานศึกษา บุคลากร งบประมาณ วัสดุในการดำเนินงาน การจัดการ การมีส่วนร่วม ด้านกระบวนการ ได้แก่ สภาพ แวดล้อมในห้องเรียน สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ บรรยากาศชั้นเรียน การสร้างการเรียนรู้ และการสอนและหลักสูตร ด้านผลผลิต ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ครูมีความพึงพอใจในระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน ผู้บริหารมีความพึงพอใจในระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเขว้าวิทยายน ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และด้านข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ การรายงานผลและข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้องการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
4. ผลการนำระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนมากขึ้น โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจ ต่อระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเขว้าวิทยายนอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : กระบวนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้, สภาพแวดล้อมในห้องเรียน, สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน, บรรยากาศห้องเรียน, การสร้างการเรียนรู้, การสอนและหลักสูตร