ชื่อหัวข้อวิจัย รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา จังหวัดชัยภูมิ
โดยใช้ชุดการเรียนรู้
ชื่อผู้วิจัย นายชัยนุวัฒน์ โชคบัณฑิต ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียน
บ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 6/3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัย One Group Pretest-
Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1. ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ชุด 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าสถิต จำนวน 8 แผน
3. แบบทดสอบท้ายชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ จำนวน 10 ข้อ 4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้าสถิต จำนวน 40 ข้อ 5. แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใน 3 ประเด็น คือ 1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โดยวิเคราะห์ค่าสัดส่วนระหว่างประสิทธิภาพด้านกระบวนการ(E1) และประสิทธิผลด้านผลลัพธ์(E2) จากการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ โดยกำหนดเกณฑ์ 80/80 2. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยนำคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ผล โดยใช้การพิจารณาค่า t จากค่า t test for Dependent Sample และ 3. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ โดยใช้สถิตการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 86.55/82.24
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ไฟฟ้าสถิต ฯ มีค่าเฉลี่ย 4.59 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด