ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้ศึกษา นางอรุณ พวงสุวรรณ
ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
สำนักการศึกษาเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ที่ปรึกษา นางกนกพิมพ์ เพ็ญนุกูล
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความพร้อมด้านการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน 3) ศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เตรียมความพร้อมด้านการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยดำเนินการทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน จำนวน 16 แผน และแบบทดสอบความพร้อมด้านการอ่านก่อนและหลังเรียนโดยหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อม ด้านการอ่าน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 ชุดคุณค่าของสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group และประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ( / )
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน มีประสิทธิภาพ 82.08/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีทักษะการอ่าน สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก