ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เตรียมความพร้อมด้านการอ่าน
ชุดคุณธรรมเด็กไทย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
ผู้วิจัย นางบุญสุข พลอยวิเลิศ
ครู ชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ที่ปรึกษา นางกนกพิมพ์ เพ็ญนุกูล
ปีที่ทำการวิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อม ด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความพร้อมด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 23 คน โดยมีตัวแปรต้น คือ การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพ ความพร้อมด้านการอ่าน และความพึงพอใจ หลังการใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ชุด คุณธรรมเด็กไทย จำนวน 12 ชุด แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมด้านการอ่าน จำนวน 24 แผน แบบทดสอบความพร้อมด้านการอ่านก่อนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group และ ประสิทธิภาพของภาพประกอบคำคล้องจองเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน ( / )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด คุณธรรมเด็กไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.98/81.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. หลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด คุณธรรมเด็กไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน สูงกว่าก่อนการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด คุณธรรมเด็กไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริม การอ่านคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด คุณธรรมเด็กไทย อยู่ในระดับมาก