ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นายปิยะพันธ์ ชัยเสนา
โรงเรียน ดอนเสียวแดงพิทยาคม อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบคู่ขนาน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ประสิทธิภาพของนวัตกรรม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.09 / 82.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) มีค่าเท่ากับ 0.8648 คิดเป็นร้อยละ 86.48 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเข้าใกล้ 1
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยปัญหาเป็นฐาน(PBL) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นและมีความพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้น ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) ที่พัฒนาขึ้นจึงสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม