ตัวอย่างที่ ๑
ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
๑. ชื่อผลงาน โครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาล
๒. ระยะเวลาที่ดำเนินการ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
พื้นที่ดำเนินการ ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาล
๓. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ
๑) ใช้ความรู้ ความสามารถในการจัดโครงการ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการอ่าน เพราะการอ่านเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความอยากรู้เรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และอยู่รอบๆ
ตัวเราเอง กระตุ้นให้อยากรู้เรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และเกิดการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
๒) ใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ หรือ P D C A ในการจัดโครงการครั้งนี้ ดังนี้
P = Plan คือ มีการวางแผนงานจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ
D = Do คือ ปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานการจัดโครงการที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง
C = Check คือ ตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานการจัดโครงการว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานขั้นตอนใดในการจัดโครงการ
A = Action คือ มีการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหาในการจัดโครงการ และยอมรับแนวทางรการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
๓) เน้นการจัดโครงการที่มีเนื้อหาสาระ มีความเพลิดเพลินด้วยกลวิธีที่หลากหลาย มีการศึกษาเตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้การจัดโครงการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
๔) ใช้หลักการเป็นบรรณารักษ์ที่ดี จัดกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งมีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสุข เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่ ปรับปรุงดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติได้จริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างจินตนาการ รวมทั้งต้องฝึกฝนตนเอง ความพยายามที่จะอ่าน และอ่านหนังสือนั้นอย่างมีคุณค่า มีอิสระที่จะรู้ได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งผู้อื่น โดยสังเกตจากพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย
๕) จัดห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาล สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดโครงการ เพื่อได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่าน และได้ใกล้ชิดกับหนังสือมากยิ่งขึ้น
๔. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ
๑) สำรวจความต้องการของเด็กและเยาวชน โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน ๑๓๒ คน
๒) ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เพื่อจัดรูปแบบของกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของเด็กและเยาวชน
๓) จัดทำแผนการจัดโครงการ
๓.๑ กำหนดกิจกรรม
๓.๒ ออกแบบกิจกรรม
๓.๓ สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล
๓.๔ สรุปผล
๔) ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการตามสื่อต่าง ๆ เช่น ประชาสัมพันธ์ของเทศบาล วิทยุชุมชน เสียงตามสาย
๕) ดำเนินการจัดกิจกรรม
๕.๑ จัดหา / จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดโครงการ
๕.๒ จัดทำเอกสารและเตรียมวัสดุต่างๆตามกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้
๕.๓ ดำเนินการตามแผนการจัดโครงการ ดังนี้
- กิจกรรมฐานรักการอ่าน และสร้างสรรค์จินตนาการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน ๖ ฐาน ดังนี้
ฐาน รู้ รัก สามัคคี
ฐาน คน ค้นหา
ฐาน ตักตวงความรู้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ฐาน อ่านได้อ่านคล่อง
ฐาน แบ่งปันความสุข
ฐาน เล่าสู่กันฟัง
๖) ประเมินผลจากแบบสอบถาม
๗) สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
๕. ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี)
๑) นางนาง พงษ์สีพันธุ์ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ ๕
- เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
- เป็นผู้กำหนดเนื้อหาและขั้นตอนแผนงานตารางในการจัดกิจกรรม
๒) นางสาวประภาพรรณ ยิ้มเสถียร สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ ๕
- เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
- เป็นผู้กำหนดเนื้อหาและขั้นตอนแผนงานตารางในการจัดกิจกรรม
๓) นางสาวอนัญญา ต่ายสินธุ์ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ ๕
- เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
- เป็นผู้กำหนดเนื้อหาและขั้นตอนแผนงานตารางในการจัดกิจกรรม
๔) นางสาววนัสนันท์ อินเทพ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ ๕
- เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
- เป็นผู้กำหนดเนื้อหาและขั้นตอนแผนงานตารางในการจัดกิจกรรม
๖. ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ (ระบุรายละเอียดของผลงาน พร้อมทั้งสัดส่วนของผลงาน)
๑) สำรวจความต้องการของชุมชน
๒) เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
๓) เป็นผู้รวบรวมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
๔) เป็นผู้กำหนดเนื้อหา และขั้นตอนแผนงานตารางในการจัดโครงการ
๕) ประเมิน และสรุปผลการจัดโครงการ
สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ ๘๐
๗. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)
เชิงปริมาณ เด็กและเยาวชน จำนวน ๑๓๒ คน
เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมของห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาล คิดเป็นร้อยละ ๙๐
โดยสรุปจากแบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาล ได้ดังนี้
๑.ในการจัดกิจกรรมเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ตรงกับความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความ
พึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
๒.ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
๓.ในการจัดกิจกรรมการนำประโยชน์ไปใช้ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความ
พึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
๔.ในการจัดกิจกรรมด้านสถานที่ บรรยากาศ และระยะเวลาในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วม
กิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
๘. การนำไปใช้ประโยชน์
๑) เด็ก และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีนิสัยรักการอ่าน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๒) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแบ่งหน้าที่ในการทำกิจกรรม และช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ
๓) ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ช่วยปรับปรุงนิสัยใจคอเป็นคนกว้างขวาง ฝึกฝนวิธีการตัดสินใจ ทำให้เป็นคนฉลาดรอบรู้ ทันคนและมีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข
๔) รู้จักค้นคว้าได้ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ และเลือกสรรความรู้อันเป็นประโยชน์จากสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕) เป็นใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการฝึกปฏิบัติจริง และนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือและสื่อต่างๆ
๙. ความยุ่งยากในการดำเนินการ/ปัญหา/อุปสรรค
๑) เนื่องจากการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลไม่ได้กำหนดอายุ เพศ และการศึกษา ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้ความรู้จึงทำได้ยาก และมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างที่ ๒
ข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ของ นางกรณินทร์นิต วิริยะเสนีย์
เพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ ๗๓๗๖
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี สำนักงานกศน. สป.
เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลให้เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชนด้าน ICT.
---------------------------------------------
๑. หลักการและเหตุผล
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องชี้วัดความเจริญทางสังคมผู้ได้รับการศึกษาจึงถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ (กรมวิชาการ, ๒๕๔๕:๕) ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุดหน้าอย่างรวดเร็วประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดทั้งของตนเอง และกลุ่มบุคคลผลที่ตามมาบางส่วน คือความถดถอยทางด้านสังคมที่เกิดจากแต่ละบุคคลมีแนวคิดที่แตกต่าง และบางส่วนแสดงออกโดยกระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และชักจูงคนใกล้ตัวให้เดินไปในทิศทางดังกล่าวด้วย ดังนั้นการจัดศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะมาถึงและเชื่อว่าการให้การศึกษาที่ปลูกฝังไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคมการเมือง และวัฒนธรรมของประเทศจะสามารถช่วยสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทย ทั้งนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้มีการจัดการศึกษาภายใต้หลักการสำคัญ ๔ ประการ ประการแรกคือ การสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญาความคิดจิตใจและคุณธรรม ประการที่สองคือ การใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ประการที่สามคือ การจัดการศึกษาต้องก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และประการสุดท้ายต้องมีความสมดุลระหว่างการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับการพึ่งตนเอง และในหมวด ๔ มาตรา ๒๒ ได้กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพพร้อมกับจะต้องพัฒนาบุคคลทั้งในด้านสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคมโดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามหลักการจัดการศึกษา
ทุกประการที่กล่าวมานั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามนโยบายไปสู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาโดยให้ประชาชนได้เลือกรับบริการการศึกษาในแหล่งเรียนรู้ตามศักยภาพ และความต้องการในรูปแบบกระบวนการที่หลากหลายเหมาะสมกับตนเอง และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๒) การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล และสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๕) ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน(กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔ : ๒๑-๒๒) และหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนก็คือ สถานศึกษาหรือผู้จัดการศึกษาต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลสอดคล้องกับวิถีชีวิตมีการฝึกทักษะตามกระบวนการ คิดเป็น ม่งสู่การเกิดการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคมเพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างการพัฒนา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาติต่อไป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ นับเป็นกฎหมายการศึกษาที่ส่งผลในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศอย่างกว้างขวางทำให้สังคมตระหนักถึงบทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณภาพมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตการศึกษาเป็นความรับผิดชอบของทุกๆ ฝ่ายในสังคมตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความคิดหลักของการจัดการศึกษาคือ แนวคิดเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยหลักการดังกล่าวการศึกษาทั้ง ๓ รูปแบบ คือการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย จะต้องมีการจัดอย่างผสมผสานกันเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้จัดห้องสมุดประชาชนไว้ในฐานเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการพัฒนาประเทศในทุกๆด้านอย่างกว้างขวาง มีการค้นคว้าทดลองวิจัยซึ่งล้วนเป็นความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และวิชาการต่างๆและได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งด้านบวก และด้านลบก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตทั้งนี้เพราะข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ยากที่จะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดจริงหรือสิ่งใดเท็จ ดังนั้นการคัดเลือกและกลั่นกรองข่าวสารซึ่งมีอยู่มากมายอันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาประเทศนั้นรัฐจำเป็นต้องให้การศึกษากับทุกคน และทุกระดับ
ให้ทั่วถึงเท่าเทียมกันโดยจัดหาแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประชาชนสามารถสืบค้นหาความรู้ข้อมูลข่าวสารได้สะดวกทุกๆที่ทั่วถึง ทั้งในระดับ หมู่บ้าน ตำบล จังหวัดทั่วภูมิภาคในประเทศไทยห้องสมุดในยุคนี้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากกว่าทุกยุคที่ผ่านมาซึ่งช่วยให้การดำเนินการด้านต่างๆโดยเฉพาะการให้บริการของห้องสมุดสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ทุกระดับในประเทศได้จำนวนมากทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และกว้างไกลจึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า การศึกษาไทยในปัจจุบันควรเน้นการมี และใช้แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลายการให้ความสำคัญกับแหล่งการเรียนรู้เพียงแหล่งเดียว คือโรงเรียนอย่างเช่นปัจจุบันนั้นอาจไม่สามารถพัฒนาบุคคลให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตอาชีพวัฒนธรรมสภาพแวดล้อม และทรัพยากรของชุมชนอาจทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ขาดความสามารถทักษะการดำรงชีวิต และพัฒนาตนเองตามวิถีของชุมชนเนื่องจากไม่มีแหล่งการเรียนรู้อื่นเข้ามาเสริม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และมาตรา ๘ ได้กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษาให้ยึดหลักคือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชนและให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๔๘ : ๑ ๒) การเปลี่ยนแปลงบทบาทของห้องสมุดประชาชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นเป็นการเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการให้บริการที่ประชาชนจะได้เรียนรู้มากที่สุด ๓ ประการคือ
๑. การเป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
๒. การเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
๓. การเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชนด้าน ICT
ดังนั้นห้องสมุดประชาชนควรปรับแนวทางการดำเนินงานใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้โดยการปรับเกี่ยวกับการจัดด้านบริการห้องสมุดประชาชนคือ
๑. ผู้ใช้บริการห้องสมุดจะต้องเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ คือผู้ใช้บริการมีศักยภาพในการเรียนรู้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และบอกความต้องการของตนเองได้
๒. บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และจะต้องมีเครือข่ายที่ดีพร้อมทั้งสามารถเชิญเครือข่ายมาร่วมดำเนินงานการให้บริการห้องสมุด และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
๓. กระบวนการเรียนรู้ในห้องสมุดเป็นกระบวนการที่ผู้ใช้บริการมีความสุข และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาของตนเองได้
๔. ห้องสมุดประชาชาชนต้องเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้าน ICT
๒. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ
ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สนับสนุนการศึกษาทั้งในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เน้นการปลูกฝัง และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การแสวงหาความรู้ การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพประสิทธิผล ผลผลิต เพื่อการบรรลุปรัชญา พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กรความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารทำให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท โดยเฉพาะห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และผลกระทบต่อผู้บริหาร บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการ และการปฏิบัติในวิชาชีพ โดยมีการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่ตอบรับกระแสเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจนเป็นที่ประจักษ์โดยเฉพาะในด้านการสร้างนิสัยรักการอ่าน นักอ่าน นักคิด นักปฏิบัติ การจุดประกายความคิด แรงบันดาลใจ และสร้างความตื่นตัวเรื่องห้องสมุดมีชีวิต การเป็นแหล่งศึกษาดูงาน สอนงาน ฝึกงาน และประเด็นการวิจัยต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต และวิธีการสร้างสรรค์การเรียนรู้ การเป็นต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และเป็นพลังขับเคลื่อนการร่วมสร้างสรรค์สังคมการเรียนรู้ องค์ความรู้ห้องสมุดมีชีวิต ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ และพัฒนาเป็นมาตรฐาน และตัวชี้วัดห้องสมุดมีชีวิต ตลอดจนจัดทำเป็นคู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต รูปแบบอุทยานการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและการส่งเสริมให้มีห้องสมุดมีชีวิตที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต การสร้างและการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างแท้จริง และเป็นกลไกสนับสนุนวาระแห่งชาติเรื่องการอ่านให้เข้มแข็ง การสร้างสังคมการอ่าน การเรียนรู้ การพัฒนาชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของห้องสมุดประชาชนเป็นไปตามความมุ่งหมาย และหลักการโดยยึดบทบาทภาระหน้าที่นโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ให้ห้องสมุดประชาชนเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชนด้าน ICT
๓. วิธีการเพื่อพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน
๑. นำสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วแปลงให้เป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร นำมาใช้ในรูปแบบวีซีดี ดีวีดี และ e-book ซึ่งสามารถนำมาไว้ในเว็บไซต์ได้
๒. เปิดบริการอินเทอร์เน็ต โดยแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน จัดให้มีคอมพิวเตอร์ไว้บริการสืบค้นอย่างน้อย ๓-๕ ชุด และจัดวางระบบเพื่อขยายการบริการที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต
๓. จัดทำโฮมเพจของห้องสมุด นำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต้องรู้ ควรรู้ และอยากรู้มาไว้ ในโฮมเพจ จัดทำห้องข่าวประชาสัมพันธ์สาระน่ารู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ การเคลื่อนไหวที่เป็นปัจจุบัน
๔. สมาชิกห้องสมุด สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรองรับบริการอินเทอร์เน็ตฟรี และให้บริการส่งข่าวสาร
สาระน่ารู้ให้กับสมาชิก โดยสมาชิกต้องสมัครอีเมล์ทุกคน
๕. จัดทำทะเบียนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และจัดให้มีเว็บมาสเตอร์ หรือสมาชิกให้แก่ผู้ใช้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บของห้องสมุด
๖. จัดหาสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในห้องสมุดประชาชน อาทิเช่น สื่อสิ่งพิมพ์, แผ่นพับ, หนังสือ, วารสาร, หนังสือพิมพ์, สื่อวัสดุ (อิเล็กทรอนิกส์ ), เครื่องบันทึกเสียง, เครื่องเล่น ดีวีดี วีซีดี และ ซีดี-รอมการได้มาซึ่งข้อมูล Data ในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งสามารถจัดหาได้หลายวิธี ดังนี้
๑. จากหน่วยงานภาคราชการ เอกชน
๒. สืบค้นด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
๓. จัดซื้อตามท้องตลาด
๔. ประสานโดยใช้องค์กรเครือข่ายชาวบ้านหรือผู้รู้ในท้องถิ่น
๕. ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการประสานงาน หรือจากการปฏิบัติจะต้องมีการสังเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ
อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และรวดเร็วดังนี้
๕.๑ ตรวจความถูกต้องของข้อมูล
๕.๒ แยกประเภทและชนิดของข้อมูล
๕.๓ จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล
๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้าน ICT เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนประชาชนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้นผู้รับบริการมีโอกาสเลือกใช้บริการได้อย่างหลากหลายผู้รับบริการได้รับข้อมูลข่าวสารที่สะดวกรวดเร็ว และทันสมัยทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชนด้าน ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๕. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลเป็นห้องสมุดประชาชนที่มีคุณภาพและให้บริการอย่างมีคุณภาพ
๒. ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลเป็นห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน
๓. ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบาดาลเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้าน ICT
๔. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของประชาชนที่พึงพอใจในการได้รับบริการที่ดี