ชื่อผลงานทางวิชาการ
การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนด่านขุนทด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ชื่อผู้ศึกษา
นางสาวเพ็ญนภา วิมล
ตาแหน่ง
ครูชานาญการ โรงเรียนด่านขุนทด
สังกัด
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
บทคัดย่อ
การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ที่จะต้องดาเนินการเป็นกระบวนการ มีระบบและต่อเนื่อง ถ้าในชั้นเรียนมีบรรยากาศที่อบอุ่นและเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม ก็จะทาให้ครูสามารถดาเนินการสอนได้ อย่างราบรื่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมี ส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียน ที่เกิดจากการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดจากการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model โดยการนาหลักการและขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดของเคมมิสและแมคทาคกาท (Kemmis และ McTaggart) มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การวางแผนงาน (planning) 2) การลงมือปฏิบัติงาน (action) 3) การสังเกตผลการปฏิบัติงาน (observe) 4) การสะท้อนกลับการปฏิบัติงาน (reflection)
กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ TAPDES Model ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โครงการห้องเรียนพิเศษ จานวน 30 คน ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนด่านขุนทด สพป. นม.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความ พึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ TAPDES Model แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ TAPDES Model แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ TAPDES Model แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model ชั้นประถมศึกษาที่ 3 เป็นการบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ มีระดับของประสิทธิภาพ ที่พัฒนาขึ้น ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียนสูงขึ้น ครูผู้สอนมีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยใช้ TAPDES Model หลังการนาไปใช้ในระดับมากที่สุด
2. การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model ชั้นประถมศึกษาที่ 3 เป็นการบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ มีระดับของประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นและ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงขึ้น
3. การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model ชั้นประถมศึกษาที่ 3 เป็นการบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ มีระดับของประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัยครั้งนี้ทาให้ได้ระบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES
Model ที่มีความเหมาะสม เพราะมีความสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และความต้องการของผู้ใช้
ดังนั้นจึงสมควรนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ TAPDES Model นี้ไปใช้ใน
การพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนต่อไป