ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความ
สามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของ
โพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลักเขต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
ผู้ศึกษา นางสาวรุสนี นิตา
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านหลักเขต สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษายะลา เขต 2
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลักเขต ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่องเศษส่วนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้ประบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลักเขต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 22 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน จำนวน 17 ข้อ ดำเนินการสอนในชั่วโมงสอนซ่อมเสริม ในระหว่างเวลา 15.30 น. 16.30 น.ของทุกวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2559 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยใช้เวลาในการสอนรวม 22 ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 85.40 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 84.12 ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 85.40/84.12
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.18 คิดเป็นร้อยละ 40.88 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.82 คิดเป็นร้อยละ 84.12 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เฉลี่ย 8.64 คิดเป็นร้อยละ 43.23
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 คิดเป็นค่าร้อยละ 88.40
ข้อเสนอแนะ
1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ควรนำชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะ เรื่องเศษส่วน เพราะจากผลการศึกษาที่พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.40/84.12 จึงสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า รายการนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เรียนตามที่ต้องการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะให้กับนักเรียนอาจยังมีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาค้นคว้าตามเรื่องที่ต้องการ หรือกิจกรรมส่วนใหญ่ครูจะเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนได้ปฏิบัติ ดังนั้น ครูควรออกแบบหรือปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ครูกำหนดให้