บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการเขียนคำในภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 47 คน ซึ่งได้มาโดย สุ่มอย่างง่าย (Sampling Random) เนื่องจากผลจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนทุกคน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- test Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
(1.) การพัฒนาทักษะการเขียนคำในภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.59/88.72ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
(2) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ได้ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง
.53-.70 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.46 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.87
2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้ ชุดแบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อยู่ระหว่าง .20-.46 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87
(2.) จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 22.76) โดยก่อนเรียนด้วยชุดแบบฝึกมีคะแนนเฉลี่ย (X) 20.79 ส่วนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย (X) 35.49 นั้นคือหลังจากที่นักเรียนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทย ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลทำให้การเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการพัฒนาทักษะการเขียนคำในภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้
(3.) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการเขียนคำในภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (X = 3.99) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับแรก ปรากฏว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำในภาษาไทยอยู่ในลำดับแรก ( =4.25 ) รองลงมา ได้แก่ รูปภาพและตัวการ์ตูนในแบบฝึกทักษะทำให้นักเรียนสนใจบทเรียน ( =4.15 ) และช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหา ( =4.11 ) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ เรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก ( =3.54)