ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
ผู้รายงาน นายพงศ์สิทธิ์ สิริกาญจน์
ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
4.1 คุณภาพในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
4.2 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่าย
ร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
4.3 ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ปีการศึกษา 2558
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้ กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ประชากรนักเรียนจำนวน 179 คน ประชากรผู้ปกครอง จำนวน 179 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และประชากรครู จำนวน 17 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เป็นการบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.93 - 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.16
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียน ทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.43) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครู มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, = 0.44) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.41  = 0.67) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.17,  = 0.66) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (= 4.01,  = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product)ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพ ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (= 3.93,  = 0.69) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (= 3.91,  = 0.79) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (= 3.90,  = 0.77) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50  = 0.61) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครู มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.38,  = 0.77) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.03,  = 0.85) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ผลการประเมินภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ร้อยละ 95.68 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนิน โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ โรงเรียนทุ่งสงสหประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.16, , S.D.= 0.49) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ นักเรียนมีความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.10,  = 0.55) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ต่ำสุด ( = 4.01,  = 0.59) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไข ด้านต่าง ๆ ที่ค้นพบ โดยปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ และส่งเสริมกิจกรรมที่ทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้น
1.2 ผู้บริหารและครูควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนำสู่ความพอเพียง
แห่งตนให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างที่ดี และควรจัดกิจกรรมกระตุ้นเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่คงทนถาวร
1.3 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม นำสู่ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายร่วมใจ
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา