บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุด สงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ชื่อผู้วิจัย นางอมรรัตน์ หมื่นแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุด สงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนวัดธรรมโฆษณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต ๑ ประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ๑) หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ประกอบด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน ๕ เล่ม ได้แก่ เล่มที่ ๑ เกาะยอล้นมนต์เสน่ห์ เล่มที่ ๒ ทะเลสาบสงขลา เล่มที่ ๓ แหลมสมิหลาสู่ศูนย์การค้าหาดใหญ่ เล่มที่ ๔ ไปเที่ยวงานลากพระ เล่มที่ ๕ สักการะหลวงปู่ทวด ๒) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๐ แผน เวลาเรียน ๒๐ ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๑๒ ข้อ ดำเนินการวิจัย โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ one group pre- test post-test desige ทำการทดลองในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า E๑/E๒ หาคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที่ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีประสิทธิภาพเฉลี่ยรวม๘๒.๕๗/๘๔,๐๗ สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ๘๐/๘๐
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุด สงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชุดสงขลาเมืองน่าอยู่ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่ทวด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ อยู่ในระดับมากที่สุด