ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางจิรัชญา สิงห์อุดม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2558
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองผือราษฎร์ประสิทธิ์
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึก ทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์ และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองผือราษฎร์ประสิทธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และ คำสุภาพ จำนวน 2 เรื่อง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.81 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.75 และ ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย แบบฝึกทักษะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.54 ถึง 0.83 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสมมุติฐานใช้ การทดสอบค่าที (t-test Dependent sample group)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.17/82.22
สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์
และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ
0.6813 แสดงว่า แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.6813 คิดเป็นร้อยละ 68.13
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และ
คำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ
เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่าน การเขียน คำราชาศัพท์และคำสุภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง ผู้เรียนมีความพึงพอใจ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และแก้ปัญหาการขาดสื่อการสอนได้เป็น
อย่างดี เป็นแบบฝึกทักษะที่สามารถพัฒนาการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ประโยชน์สูงสุด จึงทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนั้นแบบฝึกทักษะสามารถช่วยให้นักเรียนมีความรู้ เข้าใจในการใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพมากขึ้น เพราะคำราชาศัพท์และคำสุภาพ แสดงถึงความมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาของคนในชาติ ซึ่งจะทำให้นักเรียนที่เรียนแบบฝึกการอ่านการเขียนคำราชาศัพท์และคำสุภาพ รู้วงคำศัพท์กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา อีกทั้งยังได้เป็นผู้ร่วมรักษาวัฒนธรรมด้านภาษา อันเป็นมรดกของชาติ สืบทอดเจตนารมณ์อันดีไว้เพื่อลูกหลานสืบไป