บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริก
สมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2558
ผู้ศึกษา นางคนึงนิตย์ โพธิ์ทองนาค
สถานที่ทำงาน โรงเรียนวัดละมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดละมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องน้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำแนกแต่ละเล่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร
ผลการศึกษา
จากการศึกษาการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนการสอน มีค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 87.07 /91.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, = 0.29) นักเรียนร้อยละ 100 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดละมุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดละมุด ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 19 คน
ผู้รายงานได้ดำเนินการสอนและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่องน้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร แบบประเมินเอกสารประกอบการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) โดยเฉลี่ย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ที่กำหนดไว้คือ 81.82/84.03 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่องน้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
3. ผลการประเมินตามสภาพจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่อง น้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดละมุด ตำบล........ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) เรื่องน้ำพริกในท้องถิ่นและน้ำพริกสมุนไพรอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.72 , SD = 0.14 ) ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน