ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ผู้วิจัย นางสุนิกุล พลกุล
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียน มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือกัน มีการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นผลทำให้สมาชิกของกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น นอกจากนี้สื่อการเรียน การสอนก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การพัฒนาการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผล ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD และความคงทนในความรู้ หลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน เมืองวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ปีการศึกษา 2557 ห้อง ป.6/6 มีจำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธี การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาและการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD พบว่า เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.50/83.94
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเท่ากับ 0.7086 แสดงว่านักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบ การเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.86
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
5. นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดเปิดเส้นทางเดินสู่สถานที่อวกาศน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD พบว่า หลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ นักเรียนมีคะแนนความคงทนในการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 82.79 แสดงว่ามีความคงทนในความรู้สูง