บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากร
เพื่อการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านสร้างเรือ
ผู้ประเมิน นางวรัชยา ประจำ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสร้างเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ปีการศึกษา 2556 - 2558
การประเมินโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการ
จัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context)
2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3) ประเมินกระบวนการ (Process) และ 4) ประเมินผลผลิต (Product) เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ (1) ด้านทรัพยากรทางการศึกษาที่ได้รับ (2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (3) ด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการการประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ใน 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลเชิงปริมาณดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการระดมสมอง (Brain Storming) ใช้การวิเคราะห์เนื้อความ (Content Analysis) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่คณะ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะอนุกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ ปีการศึกษา 2556 - 2558 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสร้างเรือ ปีการศึกษา 2556 - 2558 และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างเรือ ปีการศึกษา 2558 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
สรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพราะโรงเรียนมีสภาพทรุดโทรมมากจะต้องพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ชุมชนทุกฝ่ายมีความเห็นว่า การระดมทรัพยากรเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การระดมทรัพยากรเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการระดมทรัพยากร จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะอนุกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นว่าบริบทของโครงการมีความสอดคล้อง กับความต้องการของคณะครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะอนุกรรมการสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.07) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่เป็นโอกาสและอุปสรรคในการระดมทรัพยากร คือ สภาพเศรษฐกิจของผู้ปกครอง ชุมชน ช่วงเวลา สิ่งที่ถือเป็นโอกาสในการระดมทรัพยากร คือ ความพร้อมและความโปร่งใสของบุคลากรในโรงเรียนการวางแผน การบริหารจัดการที่ดีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการระดมทรัพยากร เช่น ฐานข้อมูลศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ให้การอุปถัมภ์โรงเรียนล้วนแค่เป็นโอกาสที่เอื้อต่อการระดมทรัพยากร จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะอนุกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นว่า ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , S.D. = 0.07) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
3. ผลการประเมินกระบวนการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินงานต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้ง ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนศิษย์เก่าจึงสามารถทำให้กิจกรรมระดมทรัพยากรสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ คือ ความโปร่งใสในการดำเนินงาน การชี้แจง รายรับ รายจ่าย ทำเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ การจะทำงานต่างๆได้สำเร็จ รวดเร็ว ต้องมีการประสานงานกันนอกรอบ จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย จากวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะอนุกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นต่อกระบวนการของโครงการที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2556 โดยรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.44, S.D.=0.13) มีความเห็นต่อกระบวนการของโครงการที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2557 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.52 , S.D. = 0.10) มีความเห็นต่อกระบวนการของโครงการที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2558 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.07) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า บุคคลฝ่ายต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 2558 จำนวน 17 รายการ คิดเป็นมูลค่า 3,146,400 บาท ผลสำเร็จของโครงการส่งผลให้โรงเรียนมีผลงานและเป็นที่ยอมรับของชุมชน หน่วยงานอื่น และหน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า
4.1 ด้านทรัพยากรทางการศึกษาที่ได้รับ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน
มีความเห็นต่อผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 , S.D. = 0.05) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ
4.2.1 ด้านความพึงพอใจของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.62 , S.D. = 0.08) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
4.2.2 ด้านความพึงพอใจของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ พบว่า คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 , S.D. = 0.08) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
4.2.3 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างเรือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 , S.D. = 0.07) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือค่าเฉลี่ย ( ) 3.50
4.3 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่าผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสร้างเรือ
ปีการศึกษา 2556 2558 ปีการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือปีการศึกษา 2558 ( = 54.39, S.D. = 2.18) รองลงมาคือปีการศึกษา 2557 ( = 49.13 , S.D. = 3.44) ปีที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปีการศึกษา 2556 ( = 44.96 , S.D. = 4.64) มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปีเรียงจากปีการศึกษา 2556 2558 เมื่อศึกษาพัฒนาการของคะแนนเฉลี่ย พบว่าปีการศึกษา 2557 เมื่อเทียบกับ ปีการศึกษา 2556 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.17 คะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2558 เมื่อเทียบกับ ปีการศึกษา 2557 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.26 เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีการศึกษา