ความเป็นมาของโครงการ
เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษา 4 สาระเศรษฐศาสตร์ นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ
ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน แต่นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้น้อยเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ที่ไม่คงทนในเนื้อหาวิชาเรียนส่งผลต่อการนำไปใช้
ในการแก้ปัญหา และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จากการศึกษาแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง เกิดความสนใจในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และนำไปสู่ความรู้ที่คงทน ผู้ขอรับการประเมินจึงสนใจที่จะพัฒนาโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาและ
การดำเนินชีวิต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เศรษฐศาสตร์และ
การนำไปใช้
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่อง เศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ขอบเขตของโครงการ
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,233 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 126 คน ที่สมัครเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินกิจกรรมในโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา ดังนี้
1. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร
2. พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ได้แก่ คู่มือการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดเจตคติ
3. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรับสมัครนักเรียนที่สนใจ
4. เก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ เจตคติ ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการก่อนดำเนินโครงการ
5. ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
6. เก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ เจตคติ ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการหลังดำเนินโครงการ
7. วิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการ
8. รายงานผลการดำเนินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
1. คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ โดยแบ่งออกเป็นแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งหมด
20 ชั่วโมง
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 ข้อ
3. แบบวัดเจตคติของนักเรียนในการเรียนรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) จำนวน 13 ข้อ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เกี่ยวกับความสำเร็จของการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ พบว่า มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 100 คน ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้วิชาเรื่อง เศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01