การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในด้านต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.2) เปรียบเทียบการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนในช่วงระหว่างเรียน 2.4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และหลักสูตรโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งนำมาจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ซึ่งจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ชั้นเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) มาจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ แบบวัดการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sulain Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ กระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมพร้อม (Simultaneously = S) 2) ขั้นเสนอตัวอย่าง (offer = o) 3) ขั้นสอน (pedagogy = p) 4) ขั้นปฏิบัติ (implement = i) 5) ขั้นสรุป (deduce = d) 6) ขั้นนำไปใช้ (apply = a)ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมเท่ากับ 86.83/88.83
2. หลังการเรียนการเรียนสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถใน การเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
4. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
5. ความสามารถในการเรียนรู้ และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนในช่วงระหว่างเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างเรียน
6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Sopida Model เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตรท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.64, S.D. = 0.11)