รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2559 มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.68 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ Dependent t-test
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.23/84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7123 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 71.23
3. นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นอย่างดี ตลอดจนเสริมสร้างความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียน ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น