ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียน ชุด วรรณยุกต์สุขสันต์
ผันอักษร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนอินทนนท์วิทยา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย นางสาวจิราวรรณ ศรีเที่ยง
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอินทนนท์วิทยา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุดวรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอินทนนท์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร จำนวน 4 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษรจำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบจำนวน 4 ตัวเลือก แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เครื่องมือที่ใช้ศึกษาได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบคุณภาพเครื่องมือโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบฝึกทักษะกับเนื้อหาค่า IOC เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีความ
สอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ของแบบทดสอบ ค่า IOC เท่ากับ 1.00 ความสอดคล้องระหว่างความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกับข้อคำถาม ค่า IOC เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR 20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ปรากฏว่าได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ เท่ากับ 0.86
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนผันวรรณยุกต์ ชุด วรรณยุกต์สุขสันต์ผันอักษร มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 85.47/84.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 16.25 คิดเป็นร้อยละ 54.17 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 25.44 คิดเป็นร้อยละ 84.79 ดังนั้นผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 30.62
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุดวรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.76 คิดเป็นร้อยละ 95.25
จากการศึกษาสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุด วรรณยุกต์สนุกสุขสันต์ผันอักษร โดยสร้างแบบฝึกเสริมทักษะที่มีสีสันสวยงาม มีรูปภาพประกอบที่หลากหลายไม่ซ้ำกันและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนมีสวนร่วมสร้างผลงานให้เกิดความภาคภูมิใจ