ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มี
ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขะยูง
ผู้วิจัย นางสาวฐิดาภา ครุฑสุวรรณ์
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขะยูง ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านขะยูง ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ที่มีกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนและหลังเรียนในรูปแบบที่เรียกว่า One -Group Pretest Posttest Design กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนบ้านขะยูง ตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและ
การลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ ที่ผ่านการหาคุณภาพแล้วได้ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.50 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง
0.21 - 0.92 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อ
การเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้ง
ไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ความพึงพอใจทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2 )
ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (P) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที t - test
ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.67/84.17 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขะยูง ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขะยูง ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.68
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.47