บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ในภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๙ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๕ ชุด ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๒ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน ๑๐ ข้อวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E๑) มีค่าเท่ากับ ๘๗.๔๑ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E๒) มีค่าเท่ากับ๘๕.๑๗ ดังนั้น ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง ค่าเท่ากับ๘๗.๔๑ /๘๕.๑๗
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยง ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๓.๑๓ คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๗๙ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๕๕ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๑๗ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๑๒.๔๒ คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓๘
๓) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านตันหยงเฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๒ คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๓๔
ข้อเสนอแนะ
๑) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ไปประยุกต์ใช้สำหรับเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพราะจากผลการศึกษายืนยันความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๗.๔๑/๘๕.๑๗ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพบว่ารายการชุดฝึกและแบบทดสอบในแบบฝึกเสริมทักษะมีความเหมาะสม มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า การออกแบบชุดฝึกและแบบทดสอบต่างๆในชุดฝึกอาจยังมีความไม่เหมาะสมบางประการจนส่งผลให้นักเรียนยังไม่พึงพอใจเท่าที่ควร ดังนั้น ครูผู้สอนหรือผู้ที่ต้องการนำไปใช้ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบชุดฝึกและแบบทดสอบต่างๆให้มีความเหมาะสม สามารถดึงดูดความสนใจนักเรียนให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป