การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับ
วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งผลต่อความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
นางทภภาภร เวียงคำ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์
ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักร
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย นางทภภาภร เวียงคำ
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม
สะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ
หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักร
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 81.97/78.58 ซึ่งสูงกว่า 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะ
หาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6758 แสดงว่าหลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6758 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.85
3. นักเรียนที่เรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05