การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน
การสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการมีนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดนิโครธาราม ได้มาโดยวิธีการเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและแบบอิสระและ
การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “TITIRAT Model” โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการสอน 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (The leading = T) 2) ขั้นการเรียน
การสอน (Instructive = I) 3) ขั้นฝึกฝนผู้เรียน (Train = T) 4) ขั้นความสามารถในการอ่าน (Information = I) 5) ขั้นทบทวนความรู้ (Review = R) 6) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application = A) 7) ขั้นประเมินผล (Tax = T) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกัน(IOC = 0.96) และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 98.56/97.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1
2. ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและนิสัยรักการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.64, S.D. = 0.11)