ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน วรกมล พรมแดง
ปีที่รายงาน 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ที่ตั้งไว้ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) (3) เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามัคคีวิทยา (สหกรณ์อุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 คน
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) = 87.69 / 86.67 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 32.16 P = .00) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) = 0.8039 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น = 0.8039 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.39
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46)
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความคงทนในการเรียนรู้หลังจบจากการทดลองกับเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 1.63 P = .18)