ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอาสินศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒
ผู้ศึกษา นางอุบลรัตน์ สุขาเขิน
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนอาสินศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอาสินศึกษา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและ
การเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๑ โรงเรียนอาสินศึกษา ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง
การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๑ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง
การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการสอนในชั่วโมงสอนซ่อมเสริม ในระหว่างเวลา ๑๔.๔๐ น. - ๑๕.๓๐ น. ของทุกวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยใช้เวลาในการสอนรวม ๒๑ ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๒.๕๕ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๔.๖๓ ดังนั้น ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีค่าเท่ากับ ๘๒.๕๕/๘๔.๖๓
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐.๘๒
คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐๘ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๓๙ คิดเป็น
ร้อยละ ๘๔.๖๓ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เฉลี่ย ๑๔.๕๗ คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๕
๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและ
การเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๖ คิดเป็นค่าร้อยละ ๘๗.๒๖
ข้อเสนอแนะ
๑. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและ
การเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ไปประยุกต์
ใช้สำหรับเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด เพราะจากผลการศึกษาที่
พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๕๕/๘๔.๖๓ จึงสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง
การอ่านและการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ด้านนักเรียนมีความรู้เรื่องมาตราตัวสะกดมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอีกด้วย
๒. จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ด้านนักเรียนภูมิใจที่ได้ทำผลงานของนักเรียนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะให้กับ
นักเรียนอาจยังมีประเด็นที่นักเรียนยังไม่ได้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองมากนัก หรือกิจกรรมส่วนใหญ่ครูจะเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนได้ปฏิบัติ ดังนั้น ครูควรออกแบบหรือปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้มีความภูมิใจในผลงานที่นักเรียนได้ทำ หรือภูมิใจในผลสำเร็จที่นักเรียนได้รับ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน