ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนประชาพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
ผู้ศึกษา นางวราภรณ์ หวังกุหลำ
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนประชาพัฒนา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนประชาพัฒนา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๓ โรงเรียนประชาพัฒนา ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๒๒ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการสอนซ่อมเสริม ในระหว่างเวลา ๑๕.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. สัปดาห์ละ ๓ วัน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ โดยใช้เวลาในการสอนรวม ๒๒ ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๘.๔๑ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๘.๕๒ ดังนั้น ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีค่าเท่ากับ ๘๘.๔๑/๘๘.๕๒
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐.๓๙ คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๖๓ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๖.๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๕๒ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เฉลี่ย ๑๖.๑๗ คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๘๙
๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๕๒ คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๓๓
ข้อเสนอแนะ
๑. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำแบบฝึกพัฒนาทักษะ การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เพราะจากผลการศึกษายืนยันความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๘.๔๑/๘๘.๕๒ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒. จากการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่า ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละวันนั้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อาจอธิบายได้ว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะให้กับนักเรียนนั้นอาจยังมีประเด็นซึ่งไม่เป็นที่พึงพอใจของนักเรียน เนื่องจากครูเป็นผู้กำหนดระยะเวลาหลังเลิกเรียน ให้นักเรียนทำกิจกรรม ส่งผลให้นักเรียนมีความกังวลใจหลายๆ เรื่อง เช่น มีความกระสับกระส่ายรอคอยผู้ปกครองมารับ อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ ที่เลิกเรียนแล้ว ฝนตกทำให้นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น ดังนั้น ครูควรพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละวันให้สอดคล้องกับสภาพและวัยของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน