ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย จักรกรี งามสมบัติ
หน่วยงาน โรงเรียนนาหว้าประชาสรรค์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
แบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) พัฒนาแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท)
ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาหว้าประชาสรรค์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 รวม 10 คน ซึ่งมาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 แบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) จำนวน 6 เล่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่า
ความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 ถึง 0.60 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.55 ถึง 0.91 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้
t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.17/85.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท) ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7442 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7442 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.42
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท)
ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74)
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ (หลักสูตรลูกเสือโท)
ชุด การผูกเงื่อนเชือก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสม สามารนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีเป็นแบบอย่างในการพัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป