ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่าน
เขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางสาวอิศราภรณ์ สิงห์เพียง
ที่ปรึกษา นายธีระพันธ์ สุวรรณสิงห์
โรงเรียน บ้านหนองตานา อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหนองตานา อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ (1) แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป จำนวน 16 ชั่วโมง ไม่รวมชั่วโมงทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ (4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
ค
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการทดสอบที ( t-test) แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.29/86.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ .8072 แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะทำให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน .8072 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.72
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนคะแนนเฉลี่ย ( =6.12, S.D.= .91) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนคะแนนเฉลี่ย ( =17.32, S.D.= .81) ค่า t = 58.225
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองตานา มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = 4.41, S.D.= .17) แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก
จากผลการพัฒนาในครั้งนี้ จึงสรุปได้ว่าแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้ใช้ในการทบทวนเนื้อหาบทเรียน หรือฝึกทักษะเพิ่มเติมได้