หนังสื่ออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด
ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา
รวมบทกวีนิพนธ์
บทกวี..โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์
บทกวี..อหังการของดอกไม้
บทกวี..เหนือเมฆ
ผู้เรียบเรียง
นางศรุตา ชมภูเขา
ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนปรางค์กู่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำรับรองของผู้บังคับบัญชา
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา จำนวน ๘ เล่ม เรียบเรียง โดยนางศรุตา ชมภูเขา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนปรางค์กู่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ นักเรียนระดับอื่น ๆ ที่มีความสนใจ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณ ทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นผู้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ย่อมส่งผลดีต่อนักเรียนให้เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะในการอ่าน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญาจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจศึกษาทุกคน
ข
คำนำ
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จัดทำขึ้นประกอบการเรียนการสอนสาระการอ่าน โดยมุ่งมั่นพัฒนาการอ่าน เพื่อฝึกกระบวนการคิดของนักเรียนให้สามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา มีจำนวน ๘ เล่ม ได้แก่
เล่มที่ ๑ นิทานดีมีสาระ
เล่มที่ ๒ เพลงเพราะมีคุณค่า
เล่มที่ ๓ บทความน่ารู้
เล่มที่ ๔ ข่าวสารทันเหตุการณ์
เล่มที่ ๕ เรื่องสั้นกินใจ
เล่มที่ ๖ โฆษณา ป้ายประกาศคำเตือน
เล่มที่ ๗ พระบรมราโชวาท
เล่มที่ ๘ บทกวีนิพนธ์
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา เล่ม ๘ โฆษณา ป้ายประกาศมีเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จะเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนมีนิสัยรักอ่านและพัฒนาการคิด จากการคิดระดับต้น ไปสู่การคิดระดับกลาง และพัฒนาถึงการคิดระดับสูงได้ในที่สุด
ศรุตา ชมภูเขา
ค
สารบัญ
คำรับรองของผู้บังคับบัญชา
คำนำ
คำแนะนำสำหรับครู
คำแนะนำสำหรับนักเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
บทนำ
บทกวีโลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์
กิจกรรมที่ ๑ เริ่มต้นอ่านและคิด
กิจกรรมที่ ๒ ฝึกพินิจให้ถ้วนถี่
กิจกรรมที่ ๓ ไตร่ตรองดูให้ดี
บทกวีอหังการของดอกไม้
กิจกรรมที่ ๑ เริ่มต้นอ่านและคิด
กิจกรรมที่ ๒ ฝึกพินิจให้ถ้วนถี่
กิจกรรมที่ ๓ ไตร่ตรองดูให้ดี
บทกวีเหนือเมฆ
กิจกรรมที่ ๑ เริ่มต้นอ่านและคิด
กิจกรรมที่ ๒ ฝึกพินิจให้ถ้วนถี่
กิจกรรมที่ ๓ ไตร่ตรองดูให้ดี
กิจกรรมที่ ๔ ทวนอีกทีให้แน่ใจ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เรียบเรียง
คำแนะนำสำหรับครู
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา มีทั้งหมด จำนวน ๘ เล่ม แต่ละเล่มเนื้อเรื่องแยกกันโดยชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกอ่านโดยใช้เล่มใดก่อนหลังได้ โดยไม่ต้องเรียงลำดับจากเล่ม ๑
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุด อ่านคิดประเทืองปัญญา เล่ม ๘ รวมบทกวี เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน สาระการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เน้นให้นักเรียนได้ฝึกอ่านเพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียน ซึ่งการอ่านที่ได้ผลดี คือ การอ่านที่ต้องมีการคิดควบคู่ไปด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้การอ่านไม่มีประสิทธิภาพถือว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่เป็น ดังนั้นการอ่านจึงต้องใช้การคิดควบคู่ไปด้วยทุกครั้ง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาการคิดของนักเรียนตั้งแต่การคิดระดับต้น ไปสู่การคิดระดับกลาง และการคิดระดับสูง ครูผู้สอนควรแนะนำ อธิบาย สร้างความเข้าใจแก่นักเรียน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. ศึกษาบทนำ และอธิบายระดับของการคิดให้นักเรียนเข้าใจ
๒. ให้นักเรียนอ่านจับใจความ ตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ อ่านในใจโดยเขียนหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่าน
๒.๒ อภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปประเด็นหรือหัวข้อสำคัญ
๒.๓ อ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียด โดยจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญ
๒.๔ อภิปรายรายละเอียดของเนื้อเรื่อง เพื่อให้ครอบคลุมหัวข้อที่เขียนไว้
๒.๕ อ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียดซ้ำอีกครั้ง พร้อมทั้งย่อเรื่องให้เหลือเฉพาะประเด็นสำคัญ
๓. ดูแลให้นักเรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้น
๔. ตรวจคำตอบของกิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติทุกกิจกรรม
๕. เสริมแรงบวกให้กำลังใจนักเรียนทุกคน เนื่องจากนักเรียนอาจจะมีทักษะการอ่าน
การคิดที่แตกต่างกัน
คำแนะนำสำหรับนักเรียน
หนังสือเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการคิด ชุดอ่านคิดประเทืองปัญญา เล่ม ๘ รวมบทกวี เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกอ่านเพื่อพัฒนาการคิด ซึ่งการอ่านที่ได้ผลดี คือ การอ่านที่ต้องมีการคิดควบคู่ไปด้วยไม่เช่นนั้นจะทำให้การอ่านไม่มีประสิทธิภาพ ถือว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่เป็นดังนั้นการอ่านจึงต้องใช้การคิดควบคู่ไปด้วยทุกครั้ง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาการคิดของนักเรียนตั้งแต่การคิดระดับต้น ไปสู่การคิดระดับกลาง และการคิดระดับสูง ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. อ่านคำแนะนำสำหรับนักเรียนให้เข้าใจ
๒. ศึกษาบทนำ เพื่อตรวจสอบระดับการคิดของนักเรียน
๓. อ่านเนื้อหาตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ อ่านในใจโดยเขียนหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่าน
๒.๒ อภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปประเด็นหรือหัวข้อสำคัญ
๒.๓ อ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียด โดยจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญ
๒.๔ อภิปรายรายละเอียดของเนื้อเรื่อง เพื่อให้ครอบคลุมหัวข้อที่เขียนไว้
๒.๕ อ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียดซ้ำอีกครั้ง พร้อมทั้งย่อเรื่องให้เหลือเฉพาะประเด็นสำคัญ
๔. ฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้น
๕. อ่านคำชี้แจงในแต่ละกิจกรรมให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ
๖. ทำแบบทดสอบหลังเรียน
๗. อดทนฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีทักษะการอ่านและการคิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเป็นสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. บอกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ (ม ๓/๓)
๒. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านเรื่องได้ (ม ๓/๔)
๓. นำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้ (ม ๓ /๙)
๔. วิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ (ม ๓/๗, ม ๓/๘)
๕. เปรียบเทียบแนวคิดสำคัญของเรื่องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือสำนวนสุภาษิตได้ (ม ๓/๕)
๖. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านได้ ( ม ๓/๖)
มาตรฐานการการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ในการ
ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต
และมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด ม. ๓/๓ ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจาก
เรื่องที่อ่าน
ม.๓/๔ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก
ย่อความและรายงาน
ม.๓/๕ วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าเรื่องที่อ่าน โดยใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น
ม.๓/๖ ประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน
ม. ๓/๗ วิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลำดับความ และความเป็นไป
ได้ของเรื่อง
ม.๓/๘ วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ม. ๓/๙ ตีความประเมินค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลาย
เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
บทนำ
การอ่านกับการพัฒนาการคิด
การอ่านกับการคิดจะทำงานควบคู่กันไป เมื่อนักเรียนอ่านสาระต่าง ๆ แล้วสามารถจำและเข้าใจ แสดงว่ามีการคิดระดับต้น ต่อมาได้มีการฝึกฝนจนสามารถอ่านแล้วนำไปใช้และวิเคราะห์เนื้อเรื่องที่อ่านได้แสดงว่าสมองมีการพัฒนาสู่การคิดระดับกลาง สุดท้ายเมื่อมีการฝึกฝนจนสามารถสังเคราะห์ และประเมินค่าเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง การคิดก็ได้รับการพัฒนาสู่ระดับสูง การคิดจะพัฒนามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของนักเรียนซึ่งเป็นผู้อ่าน ดังนั้น ถ้าต้องการพัฒนาให้เป็นผู้มีความคิดระดับสูง ควรฝึกปฏิบัติดังนี้
๑. ฝึกคิดระดับต้นด้วยการอ่านในใจเพื่อรู้ - จำ และเข้าใจเรื่องที่อ่าน กล่าวคือ จำคำสำคัญ เหตุการณ์ เรื่องราว และเข้าใจแนวคิดของเรื่อง
๒. ฝึกคิดระดับกลาง ด้วยการทบทวนหลักการคิดระดับต้น การคิดระดับกลางคือ การนำเรื่องราวที่อ่านไปใช้ประโยชน์ และวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ในเรื่องที่อ่านได้
๓. ฝึกคิดระดับสูง ด้วยการทบทวนหลักการคิดระดับต้นและระดับกลาง การคิดระดับสูงเป็นการสังเคราะห์ด้วยการนำคำพังเพย สุภาษิตมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ของเรื่อง สร้างสถานการณ์ที่คล้ายกันกับแนวคิดของเรื่อง นอกจากนั้นยังรวมถึงการประเมินค่าโดยแยกเหตุและผล ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น คุณค่าที่ได้รับ และการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
“โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์”
โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์ เรากะเทอร์เจอกันในวันหนึ่ง
ชีวิตในอินเตอร์เนตนี้ก็จึง หวานน้ำผึ้งสุขสมสีชมพู
โย่วโย่วเทอร์อยู่ที่หนายอ่า? ทำงานแร้วรึว่ายังเรียนอยู่?
รูปเทอร์สวยอ่าเหมือนหมาจู งุงิงุงิน่าเอ็นดูน่าดูแคม
โชว์วิวเปิดแคมแพลมแพลมสิ อะคริอะคริมะก้าแหงม
เสื้อสีสวยแสบมันแว้บแวม ชั้นในแพรมลับล่อยี่ห้อไร?
เนินนมขาวจังคงทั้งเต้า กำเดาเลือดลิ่มจะปริ่มไหล
แคมเทอร์สวยออกทั้งนอกใน แคมใหญ่เต็มปลั่งกะลังดี
หน้าบ้านเรารถถังกะลังวิ่ง ปฏิวัติกันจิงจิงหรือนี่?
บ้านเทอร์มีปะ – รึมะมี? อี๋อี๋บ้านน้อกบ้านนอกจัง
55555555 เรารักเทอร์น้าเด็กโง่งั่ง
เด๋วส่งMp3 ปะห้ายฟัง แร้ววันหลังส่งคลิปปะห้ายดู
คลิปเราเองแหละเอิ๊กเอิ๊กเอิ๊ก ถ่ายก่อนเลิกกะแฟนโรงแรมหรู
ADSL เราใช้TRUE อัพโหลดคู่สองคลิปได้ฉะบาย
เรารักเทอร์น้าเด็กโง่ (คลิกอีโมฯรูปหัวเราะงอหงาย)
หนึ่งปริ๊ดแระอิอิขอบจาย จุ๊บจุ๊บบะบายชัทดาวน์..แร้ววว...
จากบทกวี"โลกในดวงตาของข้าพเจ้า"
โดย
มนตรี ศรียงค์
กิจกรรมที่ ๑
เริ่มต้นอ่านและคิด (รู้ – จำ/ เข้าใจ)
คำชี้แจง จากบทกวี “โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. ผู้เขียนบทกวีนี้ต้องการสื่ออะไรให้กับผู้อ่าน
๒. บุคคลที่กล่าวถึงในบทกวีอยู่ในวัยใด กำลังทำอะไร
๓. จากบทกวีนักเรียนจะเห็นว่าผู้แต่งเลียนแบบการใช้ภาษาของวัยรุ่น ซึ่งจะส่งผลต่อภาษาไทยทำให้ภาษาไทยวิบัติ ดังนั้นให้นักเรียนหาคำที่เขียนผิดแก้ไขให้ถูกต้อง
 
เฉลยกิจกรรมที่ ๒
(นำไปใช้ / วิเคราะห์)
คำชี้แจง จากบทกวี “โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. บทกวีบทนี้มีลักษณะเด่นด้านใดบ้าง
๒. จากบทกวีที่ยกมานี้นักเรียนคิดว่าประเทศไทยเราควรพัฒนาด้านใดอย่างเร่งด่วนก่อนจะสายไปกว่านี้
๓. บทกวีที่ยกมานี้นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสภาพสังคมในปัจจุบันใครที่มีส่วนช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไร
 
กิจกรรมที่ ๓
ไตร่ตรองดูให้ดี (สังเคราะห์/ ประเมินค่า)
คำชี้แจง จากบทกวี “โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. จากบทกวีนี้สิ่งใดที่วัยรุ่นทำเป็นเรื่องปกติ จะส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติอย่างไร
๒. จากบทกวีการแต่งกายของเด็กสมัยนี้เหมาะสมหรือไม่ ส่งผลอย่างไรต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ควรแก้ไขอย่างไร
๓. การสื่อสารในยุคปัจจุบันส่งผลดีและผลเสียอย่างไร มีมาตรการ
ป้องกันแก้ไขอย่างไร
๔. บทกวีใช้ภาษาใดในการนำเสนอ ซึ่งส่งผลอย่างไรบ้างต่อชาติไทย มีมาตรการแก้ไขอย่างไร
 
บทกวี..อหังการของอกไม้
สตรีมีสองมือ
มั่นยึดถือในแก่นสาร
เกลียวเอ็นจักเป็นงาน
มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
สตรีมีสองตีน
ไว้ป่ายปีนความใฝ่ฝัน
ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน
มิหมายมั่นกินแรงใคร
สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน
สตรีมีดวงใจ
เป็นดวงไฟไม่ผันผวน
สร้างสมพลังมวล
ด้วยเธอล้วนก็คือคน
สตรีมีชีวิต
ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล
คุณค่าเสรีชน
มิใช่ปรนกามารมณ์
ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งผืนดิน บทกวีของจีรนันท์ พิตรปรีชา
กิจกรรมที่ ๑
เริ่มต้นอ่านและคิด
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “อหังการของดอกไม้” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. บทกวีนี้กล่าวถึงเพศใด มีจุดม่งหมายอย่างไรในการแต่งบทกวีนี้
๒. ต้องกระทำตนแบบใดถึงจะเรียกว่ากุลสตรี
๓. หน้าที่ของสตรีคืออะไรบ้าง
 
กิจกรรมที่ ๒
ฝึกพินิจให้ถ้วนถี่ (นำไปใช้- วิเคราะห์)
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “อหังการของดอกไม้” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. เพราะเหตุใดจึงเปรียบสตรีกับดอกไม้แหลม
๒. สตรีที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
๓. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการมีผู้นำประเทศเป็นสตรีไม่ใช่บุรุษ
 
กิจกรรมที่ ๓
ไตรตรองดูให้ดี (สงเคราะห์ / ประเมินค่า)
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “อหังการของดอกไม้” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. สตรีในสมัยก่อนกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร
๒. การที่สตรีมีบทบาททางการเมืองส่งผลอย่างไรต่อประเทศชาติ
๓. ปัจจุบันสตรีมีความเทียบเท่าบุรุษอย่างไรบ้าง ส่งผลอย่างไรต่อประเทศชาติ
 
บทกวี...เหนือเมฆ
ศิลปินกับนักการเมืองนั้น
เหมือนกันตรงสร้างเรื่องโกหก
ศิลปินสร้างนิยายขยายยก
นักการเมืองสกปรกโกหกประชา
ศิลปินโกหกยกอ้างอิง
เมื่อเปิดเผยความจริงสิ่งเหนือกว่า
สมมุติเรื่องโกหกยกขึ้นมา
กระชากม่ย่าานบังตาหายพร่ามัว
นักการเมือโกหกเพื่อปกปิด
ความจริงอันทุจริตคิดชั่วร้าย
สมมุติเรื่องโกหกเพื่อยกตัว
เอาใบบัวบางบิดปิดช้างตาย
เรียกเหนือเมฆเสกมนต์ให้คนชั่ว
ว่าเหมือนวัวหลังหวะเปะปะป่าย
เห็นอีกาบินผาดก็หวาดร้าย
ตะโพงพายแผลงฤทธิ์เข้าขวิดจอ
มนุษย์จะต้องมีเสรีภาพ
เพื่อกำราบมารร้ายไม่ระย่อ
เมล็ดพืชแห่งสัจจะจะร่วมก่อ
เพื่อแตกหน่อต่อแขนงแห่งเสรี
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูรณ์
กิจกรรมที่ ๑
เริ่มต้นอ่านและคิด
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “เหนือเมฆ” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. บทกวีนี้กล่าวถึงอาชีพใด และอาชีพดังกล่าวเป็นอย่างไร
๒. จากบทกวีใครเป็นผู้ถูกกระทำ ถูกกระทำอย่างไร
๓. นักการเมืองปัจจุบันมักจะกระทำสิ่งใดที่ส่งผลเสียหายต่อประเทศมากที่สุด
 
กิจกรรมที่ ๒
ฝึกพินิจให้ถ้วนถี่ (นำไปใช้- วิเคราะห์)
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “เหนือเมฆ”ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. จากบทกวีนี้สื่อให้เห็นสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร เราควรปฏิบัติตนเช่นไร
๒. ถ้าไม่อยากให้นักการเมืองทุจริตคอรัปชั่นประเทศ ควรปฏิบัติเช่นไร
๓. นักแสดงกับนักการเมืองต่างหลอกลวงประชาชนเหมือนกัน
 
กิจกรรมที่ ๓
ไตร่ตรองให้ดี ( สังเคราะห์ / ประเมินค่า )
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “เหนือเมฆ” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. การนำเสนอบทกวี เหนือเมฆ ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่าอย่างไร
๒. “เรียกเหนือเมฆเสกมนต์ให้คนชั่ว ว่าเหมือนวัวหลังหวะเปะปะป่าย
เห็นอีกาบินผาดก็หวาดร้าย ตะโพงพายแผลงฤทธิ์เข้าขวิดจอ”
บทกวีที่ยกมานี้ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
๓. นักการเมืองกับศิลปินมีความเหมือนกันคือสิ่งใด แต่มีความต่างกันตรงไหนอย่างไรส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติ แนวทางป้องกันอย่างไร
 
เฉลยกิจกรรมที่ ๓
ไตร่ตรองให้ดี ( สังเคราะห์ / ประเมินค่า )
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่าน “เหนือเมฆ” ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. การนำเสนอบทกวี เหนือเมฆตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่าอย่างไร
ตอบ : การนำเสนอบทกวี เหนือเมฆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าคนที่ทำผิดแล้วหาสิ่งอื่นมา
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ก็เป็นไปไม่ได้ความผิดก็ยังปรากฏ ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่า ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด ความหมาย การทำความผิดหรือทำเรื่องเสียหายขึ้นเป็นเรื่องใหญ่ ถึงจะพยายามกลบเกลื่อนปิดบังอย่างไรก็ย่อมปิดไม่มิด
๒. “เรียกเหนือเมฆเสกมนต์ให้คนชั่ว ว่าเหมือนวัวหลังหวะเปะปะป่าย
เห็นอีกาบินผาดก็หวาดร้าย ตะโพงพายแผลงฤทธิ์เข้าขวิดจอ”
บทกวีที่ยกมานี้ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบ : วัวสันหลังหวะ หมายถึง คนที่ทำอะไรไม่ดีไปแล้ว มักมีอาการคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ
๓. นักการเมืองกับศิลปินมีความเหมือนกันคือสิ่งใด ส่งผลต่อสังคมอย่างไร แนวทางแก้ไขควรทำอย่างไร
ตอบ : นักการเมืองกับศิลปินมีความเหมือนกันคือ การโกหก
- ศิลปินนักแสดง แสดงตามบทบาทที่ได้รับเป็นการโกหกประชาชน
- นักการเมืองจะโกหกประชาชน โดยเฉพาะตอนหาเสียงเลือกตั้งสัญญากับประชาชนว่าจะทำอะไรเพื่อประชาชน เมื่อได้เป็นส.ส.ดังหวังก็ลืมประชาชน
การกระทำของนักการเมืองจะร้ายแรงกว่านักแสดง เพราะนักการเมืองได้ผลประโยชน์มหาศาลหลังจากที่หลอกลวงประชาชนแล้ว
การแก้ปัญหา คือ ระวังอย่าตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง โดยการไตร่ตรองให้รอบครอบก่อนจะเลือกใครเข้าไปบริหารประเทศชาติ
กิจกรรมที่ ๔
ทวนอีกทีให้แน่ใจ
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่านให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ข้อใดคือข้อแตกต่างระหว่างโลกในอินเทอร์เน็ตกับโลกแห่งความเป็นจริง(สังเคราะห์)
ก. ความรักของหนุ่มสาว
ข. ความจริงใจและการโกหก
ค. การใช้ภาษาไทย
ง. ความทันสมัย
๒. สิ่งใดสำคัญที่สุดที่จะให้ความรู้แก่วัยรุ่นในปัจจุบันนี้(สังเคราะห์)
ก. เพศศึกษา
ข. การปฏิบัติตัว
ค. การเชื่อใจคน
ง. วิธีการใช้อินเทอร์เน็ต
๓. บทกวี “โลกทั้งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์”เด่นในลักษณะใด(ประเมินค่า)
ก. การใช้ภาษา
ข. อารมณ์
ค. การใช้สัมผัส
ง. มองเห็นภาพพจน์
๔. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (ประเมินค่า)
ก. ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว
ข. มีความจริงใจต่อกันมีมิตรมาก
ค. ส่งคลิบวีดีโอได้
ง. ย่อโลกทั้งโลกมาอยู่ในอินเทอร์เน็ต
๕. ข้อใดมีในตัวของสตรีที่ดี (วิเคราะห์)
ก. บำเรอสามี
ข. แต่งตัวยั่วยวนผู้ชาย
ค. ทำกับข้าวอร่อย เย็บเสื้อที่ขาดได้
ง. ร่านผู้ชาย
๖. สตรีสามารถเป็นผู้นำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (ประเมินค่า)
ก. ได้ เพราะเป็นคนพูดเก่ง
ข. ได้ เพราะมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน เก่งเหมือนผู้ชาย
ค. ได้ เพราะมีความสวยเป็นอาวุธ
ง. ได้ เพราะมีการศึกษาและมีสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย
๗. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างชายกับหญิง( วิเคราะห์)
ก. ความกล้าแกร่ง
ข. ความมีอุดมการณ์
ค. ความมีเสรีภาพ
ง. ความอ่อนโยนมีเหตุผล
๘. ข้อใดคือความเหมือนและความต่างของนักการเมืองกับนักแสดง(สังเคราะห์)
ก. เหมือนคือการโกหกประชาชนต่างกันที่อาชีพ
ข. เหมือนกันคือการโกหกประชาชนต่างกันที่จุดประสงค์
ค. เหมือนกันคือการหลอกลวงประชาชนต่างกันที่ความคิด
ง. เหมือนกันคือการโกหกประชาชนต่างกันที่อาชีพ
๙. ข้อใดสำคัญที่สุดสำหรับประชาชนที่จะไม่ถูกหลอกลวง(วิเคราะห์)
ก. ความมีเสรีภาพ
ข. มีความรู้
ค. มีไหวพริบ
ง. มีสติ
๑๐. จากบทประพันธ์ “เหนือเมฆ” ข้อใดเป็นจริง (ประเมิน)
ก. นักการเมืองชอบแสดงละคร
ข. นักการเมืองชอบวางอำนาจ
ค. นักการเมืองชอบโกหกประชาชน
ง. นักการเมืองชอบกดขี่ข่มเหงประชาชน
 
เฉลยกิจกรรมที่ ๔
ทวนอีกทีให้แน่ใจ
คำชี้แจง จากบทกวีที่อ่านให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ข
๒. ก
๓. ก
๔. ข
๕. ค
๖. ง
๗. ง
๘. ข
๙. ข
๑๐. ค