ผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษา
ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ก่อนและหลังเรียน เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ใน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 /1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 40 คน ที่ได้มาโดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน บทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ ในหน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด แบบวัด จิตวิทยาศาสตร์เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และใช้การทดสอบ t (t-test for dependent sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบหน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 88.44/85.33
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7357 แปลความได้ว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 73.57
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก กล่าวคือ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.44
โดยสรุป บทเรียนสำเร็จรูปที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ หน่วยการเรียนรู้ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลสูง สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี