บทคัดย่อ
ชื่อ รายงานการวิจัยการพัฒนาเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
ประกอบการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 2
โดย นางอุมาวรรณ ตะวัน
คำสำคัญ ค่านิยมหลัก 12 ประการ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อสร้างเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบ
การใช้คำถามเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ของเด็กปฐมวัย สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดเทพนิมิตร ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาค่านิยมหลัก
12 ประการ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ของเด็กปฐมวัย สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดเทพนิมิต 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดเทพนิมิตร สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เกมการศึกษา จำนวน 36 เกม แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจำนวน 36 แผน และแบบวัดผลพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การหาประสิทธิภาพเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบ
การใช้คำถาม เพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการของเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า จากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดกิจกรรม (E1) เท่ากับ 89.37
ค่าคะแนนจากแบบวัดผลการพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ หลังการจัดกิจกรรม (E2) เท่ากับ 89.54
มีประสิทธิภาพ (E1/ E2 ) = 89.37/89.54 แสดงว่า เกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถาม เพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเกมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. คะแนนการพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถาม เพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก
12 ประการของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กปฐมวัยกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชุดภาพสถานการณ์ในชีวิตประจำวันประกอบการใช้คำถาม เพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการของเด็กปฐมวัย มีความ
พึงพอใจต่อรูปแบบการสอนหรือการจัดกิจกรรมในระดับชอบมาก คิดเป็นร้อยละ 72.00 รองลงมา
คือ มีความพึงพอใจต่อเกมการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 71.81 และมีความพึงพอใจต่อสถานที่จัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 66.79