ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการ วิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษา

ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการ

วิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้วิจัย นางวิชุดา โชคภูเขียว

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนได้ โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการเป็น2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มครูผู้ร่วมศึกษามีจำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบบันทึก การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการศึกษา แบบบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ยังยึดการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเป็นหลัก ไม่ให้โอกาสนักเรียนค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ ความถนัดและความแตกต่างระหว่างบุคคล และครูคิดว่าการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้ หลังจากดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การศึกษาเอกสาร การนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้และการนิเทศการจัดการเรียนรู้แล้ว ปรากฏว่าครูผู้ร่วมศึกษาทั้ง 38 คน มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องความหมาย หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ความสำคัญ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอน สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ดี แต่ยังไม่สามารถจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้ครบ 5 ขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนการเขียนรายงานและขั้นตอนการนำเสนอโครงงาน ซึ่งปัญหาที่พบ คือ ผู้ร่วมศึกษาแนะนำให้นักเรียนศึกษาแหล่งความรู้อื่นเพิ่มเติม เช่น การแนะนำให้สืบค้นจากห้องสมุดหรืออินเทอร์เน็ต ไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ ขั้นตอนการเขียนรายงานยังเป็นรูปเล่มที่ไม่ครบสมบูรณ์ตามหัวข้อ การจัดทำหัวข้อไม่ได้ทำแบบ 5 บท ขาดการแนะนำนักเรียนให้ใช้อุปกรณ์ในการจัดทำรูปเล่มให้เหมาะสมกับเรื่อง และไม่ได้ทำการประเมินรูปเล่มรายงานทั้งด้านภาษา และรูปแบบ ในขั้นตอนการนำเสนอ จัดบรรยากาศไม่เอื้อในการนำเสนอโครงงาน เช่น ขาดสิ่งเร้าความสนใจของนักเรียน นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายเนื่องจากการขาดแรงจูงใจในการเรียน ซึ่งต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข จึงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยเชิญวิทยากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมาจัดนิเทศเพิ่มเติม เพื่อให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้ให้ตัวอย่างการเขียนเค้าโครงและรายงานโครงงานฉบับที่ทำได้ดี มาเป็นตัวอย่างเพื่อใช้เป็นข้อสนเทศของผู้ร่วมศึกษา การพัฒนาบุคลากรในวงรอบที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ร่วมศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนได้ โดยเห็นว่าการศึกษาดูงานและการนิเทศการจัดการเรียนรู้เป็น กลยุทธ์ที่ดี เห็นสมควรให้นำมาใช้การพัฒนาอีกครั้ง จึงกำหนดให้ใช้กลยุทธ์นิเทศการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับกิจกรรมการพบกลุ่มและการศึกษาดูงานโดยการวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญการด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมาให้การอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ หรือตอบข้อสงสัยของผู้ศึกษา พร้อมทั้งได้เสนอแนะให้จัดหาตัวอย่างการเขียนเค้าโครงและรายงานโครงงานฉบับที่ทำได้ดีมาเป็นสื่อการสอนด้วยร่วมกับการศึกษาดูงานในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาครูให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน จากผลการดำเนินการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยภาพรวมในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนได้ ผู้ร่วมศึกษาส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน มีความกระตือรือร้นในการดำเนินงาน ผลปรากฏว่าครูผู้ร่วมศึกษาทั้ง 38 คน มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้เป็นอย่างดี มีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานครบ 5 ขั้นตอน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ และมีการบันทึกปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา มีการประเมินการสอนของตน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สามารถถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนผ่านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้ เขียนรายงานโครงงานได้ครบทุกบท มีทักษะในการเขียนเพิ่มมากขึ้น ถ่ายทอดให้นักเรียนรู้จักการนำเสนอผลงานได้ดี มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อผลงานที่แต่ละคนนำเสนอ ตั้งแต่การเขียนเค้าโครงของโครงงาน จนถึงการเขียนรายงาน มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นในกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอน มีการทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาร่วมกัน ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้โครงงานที่หลากหลาย และส่งผลให้นักเรียนได้รับความสะดวก มีความพร้อมใน การเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียน มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักการแสวงหาความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย รู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือเพื่อบันทึกภาพ การสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ได้ใช้ทักษะหลายๆ ด้านในการจัดทำโครงงาน นักเรียนรักการทำงานเป็นหมู่คณะ มีความสามัคคี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสุข ในการเรียน นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีลักษณะเป็น คนดี คนเก่งและมีความสุข โดยสรุปการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานให้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ช่วยให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเขียนแผน การจัดการเรียนรู้และสามารถนำแผนไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้ ส่งผลให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิตจึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้และมีทักษะดังกล่าว งานวิชาการถือว่าเป็นงานหลักของสถานศึกษาที่จะทำให้บรรลุความมุ่งหมายของหลักสูตร ซึ่งภารกิจของงานวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและองค์กรอื่นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545) มาตรา 22 ได้กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ และมาตราที่ 24 ได้กำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้โรงเรียนดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นได้รับการยอมรับและเห็นความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาของชาติ มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายสู่ความเป็นเลิศ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปกระบวนการสอนในสถานศึกษา โดยเน้นให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง มีวิธีการเรียนรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล การจัดการศึกษาต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของความสำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552)

จากอดีตจนถึงปัจจุบันครูหลายคนยังใช้วิธีสอนที่ยึดติดอยู่กับวิธีแบบเดิมที่เคยเรียนมาและส่วนใหญ่ใช้วิธีสอนอย่างเดียวกันและนักเรียนทุกคนใช้เวลาเรียนเท่ากันหมด ไม่ใช้สื่อการเรียนรู้ไม่ทราบวิธีสอนไม่รู้จักยืดหยุ่นในการสอน คงใช้การสอนด้วยวิธีอธิบายบนกระดานดำตลอดเวลา ครูยังใช้วิธีสอนแบบยึดเนื้อหา ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลอีกประการหนึ่งภาระงานสอนของครูก็มากเกินไปและยังต้องมีหน้าที่อื่นรับผิดชอบอีกด้วยส่วนด้านนักเรียนนั้นมีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอ ขาดทักษะในการแก้ปัญหา ขาดความเข้าใจในความคิดรวบยอดหรือหลักการไม่สามารถนำความรู้เดิมที่เรียนไปแล้วไปใช้ในบทเรียนใหม่ หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงขาดแรงจูงใจ เกิดความเบื่อหน่าย ครูใช้สื่อที่ไม่สามารถสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน การบริหารการศึกษาจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาครูให้ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบและทันต่อการเปลี่ยนของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (สุวัลยา ใจโชติ, 2551 ; วัลภา เฮียงราช, 2550) ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนต้องทบทวนบทบาทของตนเองว่าการจัดการเรียนการสอนที่ตนดำเนินการอยู่มีคุณภาพเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยและสังคมโลกมากน้อยเพียงไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, 2550) คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมความรู้ ความสามารถของนักเรียนทุกด้าน นักเรียนได้ ลงมือปฏิบัติจริง ได้ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของตนเอง โดยมีครูหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้คอยให้คำแนะนำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ฉะนั้นการเรียนรู้แบบโครงงานจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกที่ช่วยให้ผู้เรียนได้นำความรู้ในชั้นเรียนไปบูรณาการกับกิจกรรมที่จะทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นการสอนแบบโครงงานจึงเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการทำการวิจัยเบื้องต้นเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ จุดประสงค์หลักของการสอนแบบโครงงาน เพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต รู้จักตั้งคำถาม รู้จักตั้งสมมุติฐาน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบคำถามที่ตนอยากรู้ รู้จักสรุปและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบ (ทิศนา แขมมณี, 2552) ครูจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ต้องพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ เป็นผู้ใฝ่หาความรู้พัฒนางานโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จัดประสบการณ์จริงให้กับผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงและส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นคนดี เก่ง และมีความสุข (สมเดช สีแสง และสุนันทา สุนทรประเสริฐ, 2551)

โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง และมีแผนพัฒนาบุคลากรให้มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้เด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์ รู้จักการแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วยวิธีการต่างๆ และเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545) แต่จากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report) ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น, 2557) พบว่า จุดที่ควรพัฒนาด้านครูคือ ครูบางส่วนขาดการส่งเสริมให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 3 (พ.ศ. 2554-2558) (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน, 2554) ที่ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า ครูควรจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกระบวนการคิดสอดแทรกในแผนจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ และผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้ศึกษาในฐานะผู้บริหารจึงได้กำหนดนโยบายด้านการพัฒนางานวิชาการให้สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต้องเพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

ผู้ศึกษาจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสอบ (Process of inquiry) และการแก้ปัญหา ใช้การคิดขั้นสูงที่ซับซ้อน ให้สามารถผลิตผลงานที่แสดงถึงความรู้ความคิดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม นำเสนอผลงานต่อสาธารณชนยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียน มีผลต่อความใส่ใจ ความกระตือรือร้นและความอดทนในการแสวงหาความรู้ การศึกษาความรู้และการใช้ความรู้ เป็นการดึงศักยภาพต่างๆ ในตัวผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์อีกด้วย (ทิศนา แขมมณี, 2552) เมื่อผู้เรียนได้ปรับปรุงพฤติกรรมการเรียนของตนเองจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เกิดความสำเร็จในการเรียน ทำให้มีความสุขและเห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นผลต่อเนื่องไปถึงครูผู้สอนโดยตรงที่จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีความรู้สึกถึงความสำเร็จที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลงานที่เกิดจากการสอนยังสามารถต่อยอดเป็นผลงานทางวิชาการที่ขอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้ ผู้ศึกษาจึงได้นำเอาหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ที่ประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) (สุวิมล ว่องวาณิช, 2552) ซึ่งมีกระบวนการคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนการสอนของครูตามปกติที่ต้องมีการวางแผน การสอน ปฏิบัติการสอน สังเกตการเรียนการสอนและบันทึกผลหลังการสอนเพื่อสะท้อนผลการสอน มาดำเนินการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. ประเภทเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 5 ประเภท คือ

1.1 แบบทดสอบ จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการและแบบทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ

1.2 แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย

1.2.1 แบบสัมภาษณ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ

1.2.2 แบบสัมภาษณ์การนิเทศ

1.3 แบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

- แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู

- แบบสังเกตการประชุมเชิงปฏิบัติการ

1.4 แบบประเมิน จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย

1.4.1 แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้

1.4.2 แบบประเมินการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน

1.4.3 แบบประเมินโครงงานของนักเรียน

1.5 แบบบันทึก จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย

1.5.1 แบบบันทึกการประชุม

1.5.2 แบบบันทึกการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

1.5.3 แบบบันทึกการศึกษาดูงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูผู้ร่วมศึกษา

2 ความสามารถในการจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้

แบบโครงงานของครูผู้ร่วมศึกษา

- แบบทดสอบก่อนและหลัง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ

- แบบสัมภาษณ์

- แบบสังเกตการประชุม

- แบบบันทึกการประชุม

- แบบสัมภาษณ์การนิเทศ

แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้

- แบบบันทึกการประชุม

- แบบบันทึกการนิเทศ

การทดสอบ

- การสัมภาษณ์หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ

- การสังเกต

- การบันทึก

การสัมภาษณ์การนิเทศ

- การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้

- การบันทึกการประชุม

- การบันทึกการนิเทศ

- การสังเกต

ผู้ร่วมศึกษา

- นักเรียน

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาดำเนินการดังต่อไปนี้

1. นำข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วยเทคนิคต่างๆ โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation Technique) ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการจากการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณคำนวณค่าโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและจัดประเภทของข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ที่รวบรวมมาทั้งหมดตามกรอบการศึกษา

2. ศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลที่รวบรวมมาได้ทั้งหมดหลายๆ รอบ (Read and Reread) แล้วหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เพื่อกำหนดทิศทาง (Trend) และสร้างข้อสรุป นำเสนอโดยอิงกรอบการศึกษาโดยการพรรณนาและอ้างอิงข้อมูลบางส่วนที่เป็นที่มาของข้อสรุปนั้น

สรุปผล

การศึกษา การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ พบว่า การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุม เชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ทำให้ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ กระบวนการและวิธีการของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ทำให้ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอน และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ โดยมีผลดังนี้ 1) การเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ รู้จักวิเคราะห์และช่วยเหลือกัน ตอบคำถาม เพื่อเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะทำโครงงาน 2) การวางแผนในการทำโครงงาน ขาดการวางแผนการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ 3) การลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงาน มีความรู้ความเข้าใจ กระตือรือร้นให้ความร่วมมือ ตั้งใจทำโครงงาน คิดค้นหาคำตอบด้วยตนเองจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน 4) การเขียนรายงานโครงงานยังมีครูบางคนที่ยังสรุปผลการศึกษาไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เขียนบทคัดย่อไม่เป็น ครูผู้สอนบางคนไม่มีความชัดเจนและไม่สามารถแนะนำได้ การเขียนรายงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานจึงไม่เหมาะสมและไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 5) การนำเสนอผลงานให้คำแนะนำนักเรียนถึงรูปแบบการนำเสนอที่มีหลากหลายวิธี โดยผู้เรียนได้ร่วมอภิปรายถึงรูปแบบที่เหมาะสมมีส่วนร่วมในการทำงาน และมีการนำเสนอรายงาน ทำให้บุคลากรผู้ร่วมศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้กลยุทธ์การศึกษาดูงานและการนิเทศ เพื่อให้ศึกษาดูงานในโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและให้คำปรึกษา แนะนำกลุ่มผู้ร่วมศึกษาที่ยังมีข้อบกพร่องในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในขั้นตอนที่ 2 การวางแผนในการดำเนินงานและขั้นตอนที่ 4 การเขียนรายงานโครงงานโดยศึกษาดูงานที่โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ทำให้ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น สามารถเลือกแบบ การเขียนรายงานที่เหมาะสม แนะนำให้นักเรียนเขียนเค้าโครงของโครงงาน และเขียนรายงานโครงงานได้ถูกต้องตามแบบที่เลือก ใช้ภาษาได้เหมาะสม สื่อความหมายได้ชัดเจน นักเรียนเขียนบทคัดย่อได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

สรุปได้ว่า การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทั้ง 2 วงรอบ โดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศและการศึกษาดูงาน ทำให้ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อภิปรายผลการพัฒนา

การศึกษาการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นดำเนินการ 2 วงรอบ โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ และการศึกษาดูงานผลการศึกษา พบว่า บุคลากรผู้ร่วมศึกษามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน5 ขั้นตอน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้และนำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ กิตติพันธ์ บุดดี (2551) พบว่า การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม และการนิเทศภายใน โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการพัฒนาบุคลากรจำนวน 2 วงรอบ ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงานได้ครบทั้ง 5 ขั้นตอนได้เต็มศักยภาพ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ บุญมี ภูนีรับ (2551) พบว่าการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายในและการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทำให้ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประยงค์ โพธิ์ชัยทอง (2551) พบว่า การดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ทำให้บุคลากรที่ร่วมศึกษาค้นคว้าได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการปฏิบัติตนให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องได้ตามวัตถุประสงค์ของ การดำเนินการพัฒนาทุกประการ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ เพียงจันทร์ จันดี (2552) พบว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงานได้ตามกรอบแนวคิดของกรมวิชาการ 5 ขั้นตอน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ มหิดล พลเยี่ยม (2552) พบว่า การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงาน โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายในทำให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเขียนเค้าโครงโครงงาน นำเสนอผลงานแบบโครงงาน ตลอดทั้งนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงานได้ตามขั้นตอนและวิธีการจัดทำโครงงานได้ทั้ง 5 ขั้นตอน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ รัตนศักดิ์ มูลจันทร์ (2552) พบว่า การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ทำให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงาน โดยสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามขั้นตอนการจัดทำโครงงานทั้ง 5 ขั้นตอน คือ การเลือกวิธีที่จะศึกษา การวางแผนการศึกษา การลงมือการศึกษา การเขียนรายงานโครงงาน นำเสนอผลงานแบบโครงงานตลอดทั้งนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงาน ทุกคนสามารถเขียนโครงงาน จัดทำโครงงานแล้วนำไปใช้จริง ตลอดทั้งนักเรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้แบบโครงงานมากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เรวัฒน์ ไชยวงศ์วัฒน์ (2552) พบว่า การดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การประชุม เชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ทำให้ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้เป็นอย่างดี ได้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเห็นปัญหา และเลือกปัญหาโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สมศักดิ์ สิงห์ยะบุศย์ (2552) พบว่า การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศแบบคลินิก ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจและตั้งใจในการพัฒนาสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพราะได้ปฏิบัติจริง ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน มีความตระหนัก รับผิดชอบร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายร่วมกันแก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จ มีการยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาที่ดี มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สามารถเขียนแผนจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ฐนิศรา นักลำ (2552) พบว่า การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศและการนิเทศแบบกัลยาณมิตรทำให้ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากเดิมที่ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลางเป็นยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีบทบาทแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถของตน ครูมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน นักเรียนมีความสามารถในการจัดทำโครงงานตามแบบที่กำหนดได้

จากการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นทำให้บุคลากรได้มีการพัฒนาดังกล่าวมาแล้วนั้น สามารถอภิปรายผล ได้ดังต่อไปนี้

3.1 จากการใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรบรรยายให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เช่น ความหมาย ความสำคัญของโครงงานลักษณะโครงงาน ขั้นตอนและส่วนประกอบของการเขียนโครงงาน ให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาศึกษาเอกสาร และฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากใบงาน ให้ผู้ร่วมศึกษาอภิปรายซักถามข้อสงสัย ทำให้ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานดีขึ้น สามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการประชุมเชิงปฏิบัติการของ วิจิตร อาวะกุล (2550) กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นเทคนิคการประชุมที่ต้องการให้ ผู้เข้าอบรมเกิดประสบการณ์ และเน้นหนักไปในการนำเอาไปใช้ปฏิบัติมากกว่าการพูดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการบรรยาย สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมคิด บางโม (2551) ที่พบว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นการฝึกอบรมที่ให้ผู้รับการฝึกอบรมได้ปฏิบัติจริง โดยทั่วไปจะมี การบรรยายให้ความรู้พื้นฐานก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ อาจเป็นการฝึกการใช้เครื่องมือใหม่ๆ ประชุมเพื่อช่วยกันสร้างคู่มือ หรือประชุมเพื่อสร้างอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น การปฏิบัตินิยมให้รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ มากกว่าปฏิบัติเป็นกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคล และสอดคล้องกับ จันทรานี สงวนนาม (2550) สรุปไว้ว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการมักใช้การฝึกอบรมกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งที่มีความสนใจในปัญหาเดียวกันมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และแสดงการพัฒนาอย่างละเอียดคล้ายกับเป็นการทำแบบฝึกหัด หรือการฝึกอบรมในภาคปฏิบัติ หลังจากที่ผู้เข้าอบรมได้รับฟังการบรรยายในภาคทฤษฎีไปแล้ว เพื่อให้การฝึกอบรมบรรลุวัตถุประสงค์มากขึ้น

3.2 จากการใช้การนิเทศ โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดำเนินการนิเทศภายใน เพื่อปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อเสนอแนะให้ผู้ร่วมศึกษานำความรู้ และเทคนิควิธีการจากข้อเสนอแนะไปปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พบว่า กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้มีการพัฒนาปรับปรุงจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชูสง่า นัยวัฒน์ (2551) ได้ศึกษาการพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนโดยโครงงาน โดยกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนโดยโครงงาน ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยโครงงาน มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนโดยโครงงาน ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนซึ่งกันและกันเขียนแผนการสอนล่วงหน้า ส่งผลให้นักเรียนสามารถทำโครงงานได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับงานวิจัย ของ ธงชัย ดาวยันต์ (2551) ศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานพบว่า ก่อนจะดำเนินการพัฒนาบุคลากรยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้เป็นแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานหลังจากได้ทำการพัฒนาด้วย กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานให้ปฏิบัติและการนิเทศการสอน ผลการดำเนินการส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงาน สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนแต่วิธีการสอนที่เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้มีส่วนร่วมในการคิดแก้ปัญหานั้นยังคงต้องปรับปรุงอีก ให้เด็กได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ กระทรวงศึกษษธิการ(2552) ได้กล่าวถึงความหมายของโครงงานว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถความถนัดและความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการหาคำตอบเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้น แนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิดและสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ชาตรี เกิดธรรม (2552) ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ปฏิบัติจริงในลักษณะการศึกษา สำรวจค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์ค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3.3 จากการใช้การศึกษาดูงานที่โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรครูด้านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องในการจัดทำแผนการเรียนรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ทำให้สามารถพัฒนาผู้ร่วมศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานทั้ง 5 ขั้นตอนได้ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับ พิพัฒน์ ทวีเงิน (2550) พบว่าการพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้กลยุทธ์การศึกษาดูงานการอบรมปฏิบัติการและนิเทศภายใน พบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ข้อเสนอแนะ

1. ควรดำเนินกิจกรรมการนิเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นำกลยุทธ์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ การศึกษาดูงาน ไปใช้ในการการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอื่นต่อไป

3. ควรรายงานผลการศึกษานี้ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศใน การพัฒนาบุคลากรในสังกัดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ ภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

. (2552). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด “โครงงาน”. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ สกสค.

. (2552). แนวการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ ชุดปฏิรูปการเรียนรู้ ลำดับที่

1/2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เอกสารประกอบการอบรม

เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลธน ธนาพงศธร. (2550). แนวทางการบริหารบุคลากร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

กิตติพันธ์ บุดดี. (2551). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน

โรงเรียนโนนสง่าราษฎร์บำรุง อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. การศึกษา ค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:

คลังนานาธรรมวิทยา.

จันทรานี สงวนนาม. (2550). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

บุ๊คพอยท์.

ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรการศึกษา. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูสง่า นัยวัฒน์. (2551). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนโดยโครงงาน โรงเรียนประชา พัฒนาอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐิตินันท์ โจณะสิทธิ์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณภัทร เมณฑกานุวงษ์. (2550 ). ผลการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ถวิล มาตรเลี่ยม. (2550). โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ (School–Bases Management :

SBM). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

ทวี สระน้ำคำ. (2552). นวัตกรรมการสอนแบบโครงงาน. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิ์ภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณกุล สีฟอง. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพียงจันทร์ จันดี. (2552). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ โครงงานโรงเรียนบ้านวังแข้ อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหิดล พลเยี่ยม. (2552). การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญแบบโครงงาน โรงเรียนบ้านคำนาดี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษา ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนศักดิ์ มูลจันทร์. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านซาดมะเหลือม อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เรวัฒน์ ไชยวงศ์วัฒน์. (2552). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบัวหลวง กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัด ร้อยเอ็ด.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (2557). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

สถานศึกษาปีการศึกษา 2557. ขอนแก่น : โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2552). กระบวนการเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approach) เอกสารประกอบการเรียน. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิรัตน์ บัวขาว. (2551). โครงงาน : กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิชาการ.

วิโรจน์ ศรีโภคา. (2552). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสู่การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

วีระศักดิ์ กุลสท้าน. (2552). กากรพัฒนาระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเหล่าคามพิทยาคม

รัชมังคลาภิเษก อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัลภา เฮียงราช. (2550). การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:

ภาพพิมพ์.

สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมเดช สีแสง และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2551). ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพ ครู.นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

สมบัติ บุญประโคม. (2550). “ครูกับการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action

Research) ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ,” วิชาการ.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2552). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินผลตาม สภาพจริง.เชียงใหม่ : THE KNOWLEDGE CENTER.

สมศักดิ์ สิงห์ยะบุศย์. (2552). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ โครงงานโรงเรียนบ้านแดงโนนสว่าง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษา ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.

นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). วิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:

ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ และอรทัย มูลคำ. (2550). การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ:

ภาพพิมพ์.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2549). รายงานการปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน. กรุงเทพฯ:

อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

โพสต์โดย วิชุดา โชคภูเขียว : [20 ต.ค. 2559 เวลา 11:00 น.]
อ่าน [5420] ไอพี : 180.183.67.217
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 29,336 ครั้ง
คำอธิษฐานวันลอยกระทง
คำอธิษฐานวันลอยกระทง

เปิดอ่าน 13,593 ครั้ง
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา

เปิดอ่าน 24,748 ครั้ง
ลายมือคนสันโดษ
ลายมือคนสันโดษ

เปิดอ่าน 10,964 ครั้ง
ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้
ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้

เปิดอ่าน 17,185 ครั้ง
เรียนคณิต ใครว่ายาก
เรียนคณิต ใครว่ายาก

เปิดอ่าน 12,631 ครั้ง
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM

เปิดอ่าน 30,165 ครั้ง
12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล
12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล

เปิดอ่าน 19,796 ครั้ง
5 วิธีจัดฮวงจุ้ยโต๊ะทำงานรับปีไก่ 2017
5 วิธีจัดฮวงจุ้ยโต๊ะทำงานรับปีไก่ 2017

เปิดอ่าน 14,147 ครั้ง
การประยุกต์ใช้ ADSL
การประยุกต์ใช้ ADSL

เปิดอ่าน 214,318 ครั้ง
อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน สู่ความสำเร็จ
อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน สู่ความสำเร็จ

เปิดอ่าน 14,436 ครั้ง
สดชื่นยามเช้าสำหรับคนนอนดึก
สดชื่นยามเช้าสำหรับคนนอนดึก

เปิดอ่าน 14,160 ครั้ง
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

เปิดอ่าน 78,427 ครั้ง
เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 14,086 ครั้ง
ดีท็อกซ์ร่างกาย ล้างพิษสมอง ชำระขยะใจ รับ "สุขมหาศาล" ทั้งปี 2556
ดีท็อกซ์ร่างกาย ล้างพิษสมอง ชำระขยะใจ รับ "สุขมหาศาล" ทั้งปี 2556

เปิดอ่าน 10,328 ครั้ง
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้
สีแดงกับสมอง ความเชื่อมโยงอันน่าอัศจรรย์ที่คุณไม่เคยรู้

เปิดอ่าน 27,210 ครั้ง
4 วิธีบังคับให้ตัวเองออมเงินได้จริง
4 วิธีบังคับให้ตัวเองออมเงินได้จริง
เปิดอ่าน 20,087 ครั้ง
วิตามิน บี
วิตามิน บี
เปิดอ่าน 14,693 ครั้ง
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)
เปิดอ่าน 12,480 ครั้ง
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?
เปิดอ่าน 2,422 ครั้ง
เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ
เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ