ชื่อเรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นายทศพร บูรณ์เจริญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเทศบาล วัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) เทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน
1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น พร้อมคู่มือการใช้ จำนวน 6 ชุด แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 13 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.57 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.41 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ และ t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวน 6 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 พืชมีดอกและไม่มีดอก ชุดที่ 2 พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ ชุดที่ 3 สัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ชุดที่ 4 พืชและสัตว์ในท้องถิ่น ชุดที่ 5 การอนุรักษ์พืชและสัตว์ในท้องถิ่น และชุดที่ 6 การอนุรักษ์พืชและสัตว์ในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 88.29/81.67 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.12)