ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุดการปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นายอนุพงษ์ ยาวุฑฒิ
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ชั้นประถมปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างคะแนนสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด
การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดท่าต้นกวาว ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือ 83.08/83.33
2. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและวิเคราะห์ความก้าวหน้าปรากฏว่ามีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 24.44
3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชุด การปลูกผักกาดหอมอินทรีย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (µ=4.39)