บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน
วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา
นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำนวน 45 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีแบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 หน่วย (5 เล่ม) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระ
การเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นากศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความเชื่อมั่น 0.84
และแบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนในการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ t test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ประสิทธิภาพ มีค่าเป็น 86.38/86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย
สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา นาฏศิลป์ไทย
สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
วิชา นาฏศิลป์ไทย สาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจเฉลี่ย ที่ระดับ 4.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 แปลผล ได้ว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด