บทคัดย่อ
เรื่อง ผลการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ ว 23101
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางศรัญญา อัมพะณคร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนทุ่งคาพิทยาคาร จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2559
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทุ่งคาพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนกับผู้วิจัย จำนวน 22 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (R) ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจทั้งฉบับ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) และสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ได้แก่ร้อยละ (Percentage) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า ที (t - dependent)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์การหาประสิทธิภาพ (E1/ E2) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีค่า = 82.88/ 80.45 หรือ E1/ E2 = 82.88/80.45 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบความรู้จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ เท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับ มากที่สุด