ผู้รายงาน นางสาวจิตรลดา บุญเรืองตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้าน ก.ม.๗ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒
การศึกษาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย ๑) เพื่อศึกษาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
จับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕๓) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในทักษะการอ่าน
จับใจความ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๔)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕โรงเรียนบ้าน ก.ม.๗ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๘จำนวน ๑๗คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๗เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๗ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน๓๐ ข้อ จำนวน ๑ ฉบับ ๔) แบบทดสอบวัดความสามารถในทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๒๐ ข้อ จำนวน ๑ ฉบับ และ ๕) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๒๐ ข้อ จำนวน ๑ ฉบับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน t test (Dependent Samples) และ One Sample t test
สรุปผลการศึกษา
๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๔.๖๒/๘๔.๓๑ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์๘๐/๘๐ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๓. นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความสามารถทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สูงกว่าก่อนอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท๑๕๑๐๑) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๗๒, S.D.= ๐.๔๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการเรียนรู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๘๘, S.D.= ๐.๓๐)รองลงมาคือ ด้านภาพ ตัวอักษรและภาษา มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด( =๔.๘๔, S.D.= ๐.๓๗)ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้