บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนดอก ยังขาดทักษะการคิดคำนวณและหาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณและหารเศษส่วน หรือบางคนทำได้แต่ทำได้ช้ามาก บางคนทำได้เร็วแต่คำตอบไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้วิจัยได้จัดทำ วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน
2. ให้นักเรียนหาผลบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตของการวิจัย
- การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนวัดสวนดอก ปีการศึกษา 2556 จำนวน 48 คน
- เนื้อหาในการวิจัย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน
- ระยะเวลาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
คำนิยามศัพท์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทดสอบของนักเรียน ที่ครูผู้สอนเป็นผู้วัดผลหลังการเรียนแต่ละเรื่อง
สมมุติฐานของการวิจัย
นักเรียนสามารถมีความเข้าใจเรื่องเศษส่วน จากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
- นักเรียนสามารถหาผลบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนักเรียนสามารถคำนวณได้เร็วถูกต้อง นำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน ได้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. หลักการคิดคณิตคิดเร็ว
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. กรอบความคิดในการศึกษาวิจัย
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เป็นผลลัพธ์ของการ
ดำเนินการจัดการศึกษาเป็นตัวบ่งชี้ ( Lnden ) ถึงความรู้ ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน และด้านอื่นๆที่สามารถกำหนดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังแสดงถึงคุณค่าของหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนความรู้ ความสามารถของผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผู้ให้ไว้
หลากหลาก ที่น่าสนใจและสอดคล้องกับการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ความหมายของอายส์เนค และไมลี (Eysneck and Meile 1986 : 16 อ้างในนพดล เจนอักษร , 2544 : 143- 146 ) ก็คือ ดัชนีชี้ประสิทธิภาพและคุณภาพการจัดการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนอาจเกิดกระบวนการวัดผล หลังกิจกรรมการเรียนการสอน หรือระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็ได้ สอดคล้องกับความหมายที่ ไพศาล หวังพานิช (2536 : 139) ให้ไว้ว่า คือคุณลักษณะความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอน เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดจากการอบรมหรือการสั่งสอน
จากความหมายที่กล่าวมาแล้ว เราอาจจะประมวลความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ว่า คือความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติอันเกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งอาจวัดได้จากการทดสอบระหว่างหรือหลังจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยการทดสอบหรือวิธีการอื่นๆนอกจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะบอกคุณภาพของผู้เรียนแล้วยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร คุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนความรู้ความสามารถของครูผู้สอนและผู้บริหารอีกด้วย
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
การที่ผู้เรียนจะเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
หลายปัจจัยอยู่เหมือนกัน ดังที่มีนักวิชาการได้ให้ความเห็นไว้ต่างๆดังต่อไปนี้ ในปี ค.ศ. 1969 ฮาวิกเฮิร์ส และนูกาเทน (Harvighurst and Neugarten 1969 : 157 ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนว่าประกอบด้วยความสามารถที่ติดตัวมาแต่กำเนิดชีวิตและการอบรมในครอบครัว ประสิทธิภาพของโรงเรียน และความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองและการมุ่งหวังในอนาคต เจ็ดปีต่อมา ปลูม (Bloom 1976 : 160 ) เสนอว่าองค์ประกอบที่มีอิทธิต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่ตัวแปรสำคัญสามตัว คือ คุณสมบัติด้านความรู้คุณลักษณะด้านจิตพิสัยและคุณภาพของการสอน ซึ่งประกอบด้วยการชี้แนะ การบอกจุดมุ่งหมายของการเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนการเสริมแรงจากคุณครู การให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความบกพร่องหรือความเหมาะสม และการแก้ไขข้อบกพร่อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เยาวลักษณ์ โทณผลิน (2547) การสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการหาผลคูณของนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 3 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระหว่างการใช้แบบฝึกทักษะทั้ง 2 ชุดซึ่งเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะการหาผลคูณของจำนวนต่างๆ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 67.4 และ 74.6 ตามลำดับ นับว่าเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่สูงในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการหาผลคูณทั้ง 2 ชุด พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 54 .00 โดยที่ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.00 แต่ภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะ นักเรียนได้คะแนนร้อยละ 90.00 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการหาผลคูณทั้ง 2 ชุด ที่จัดทำขึ้น เป็นแบบฝึกทักษะที่สามารถพัฒนาทักษะของนักเรียนในการหาผลคูณของจำนวนที่มากกว่าสามหลักกับจำนวนที่มากกว่าสามหลักได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะเป็นแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ที่เริ่มจากง่ายไปหายาก เป็นการฝึกซ้ำๆ และมีรูปแบบการฝึกเป็นลำดับขั้นตอนที่ดี นักเรียนสามารถใส่ผลคูณได้ถูกที่ และรวมผลคูณได้ถูกต้อง
อรอุมา ฟุ้งขจร (2547) จากการใชวิธีสอนโดยใชกิจกรรมแบบกลุมเกมแขงขัน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนวิชาคณิตศาสตร ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 6/1 ผลปรากฎวาได้ คะแนนที่คิดเปนรอยละสูงที่สุด คือ ร้อยละ87 รองลงมาไดแก กลุมที่ 3 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 81 ,กลุมที่ 2 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 78 , กลุมที่ 4 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 75 ,กลุมที่ 1 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 74 , กลุมที่ 6 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 65 และกลุมที่ 5 ไดคะแนนคิดเปนรอยละ 54 ดังนั้นกลุมที่ 7 จึงไดรับรางวัลจากการทํากิจกรรมกลุมเกมการแขงขันทางคณิตศาสตรในครั้งนี้จากการทํากิจกรรมของนักเรียนในแตละกลุมมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้แสดงใหเห็นวาการใชวิธีสอนโดยใชกิจกรรมแบบกลุมเกมแขงขันเปนการพัฒนาทักษะการเรียนรูทางคณิตศาสตรใหกับผูเรียนอีกทั้งยังเปนกิจกรรมที่สงเสริมและกระตุนใหผูเรียนมีเจตคติที่ดีตอวิชาคณิตศาสตรมากยิ่งขึ้น
รุ่งตะวัน โพธิ์ไทร (2548) การสอนคณิตศาสตร เรื่อง โจทยปญหาโดยใชกิจกรรมเกมเพื่อ
พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 1/4 พบวาในการจัดกิจกรรมดังกลาวทําใหนักเรียนมีความสนใจการเรียน รูสึกสนุกสนาน มีความรับผิดชอบ รูจักทํางานเปนกลุม มีการเคลื่อนไหว ทําใหไมเบื่อหนายตอการเรียน สงเสริมทักษะในดานตางๆ เกิดความเขาใจบทเรียน เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในทางบวก และทําใหผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตามลําดับ จากการเลนเกมครั้งที่1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเปนรอยละ 70.00 และเมื่อถึงการเลนเกมครั้งที่4 ซึ่งเปนครั้งสุดทาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเปนรอยละ 85.00 ซึ่งเปนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
กรอบความคิดในการศึกษาวิจัย
แผนภูมิที่ 1 กรอบความคิดในการศึกษาวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
แบบฝึกเสริมทักษะ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน
ของนักเรียนระดับชั้น ป.5
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์ และหาผลบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยประเภทการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research ) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
1. ขั้นวางแผน ดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ผู้วิจัยเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอน วิเคราะห์สาเหตุวิเคราะห์หลักสูตรเกี่ยวกับหลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับชั้น ป.5 กำหนดเนื้อหาที่ใช้สอนศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
2. ขั้นปฏิบัติการ
ผู้วิจัยนำแบบฝึกเสริมทักษะใช้กับผู้เรียน
3. สะท้อนผลจากการปฏิบัติจริง
นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และศึกษาสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
ครั้งต่อไป
ประชากร
1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนดอก จำนวน 48 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
ตัวแปรต้น การสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้น ป.5
เครื่องมือที่ใช้วิจัย
- แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การวิเคราะห์ข้อมูล
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
นำข้อมูลที่ได้จากการตรวจผลแบบฝึกเสริมทักษะของผู้เรียนและสังเกตจากพฤติกรรมของนักเรียนมาวิเคราะห์ สรุปแล้วรายงานผลในลักษณะการบรรยาย
- การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดย คำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )
การนำเสนอข้อมูล
นำเสนอโดยความเรียง ประกอบตารางและแผนภูมิ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและ
การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ ปรากฏผลวิจัยดังนี้
ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
รายการประเมิน ค่าเฉลี่ยของร้อยละ
ก่อนเรียน หลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน 44.79 77.60
จากตารางที่ 1 แสดงว่า กิจกรรมการเรียนการสอนโดย ใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก
ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น กล่าวคือ นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะ กระบวนการคิดคำนวณเรื่องเศษส่วน และถูกต้องมากขึ้นตามลำดับ จากการทดสอบก่อนเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 44.79 หลังจากที่นักเรียนได้ใช้แบบฝึกเสริมทักษะเศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ทำให้ผลการทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้น เป็น 77.60 ซึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
บทที่ 5
สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนดอก
สามารถสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
การสอนคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ทักษะคณิตคิดเร็วของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าในการใช้แบบฝึกดังกล่าวทำให้ผู้เรียนได้ทบทวนและเสริมทักษะและนักเรียนมีความสนใจ ไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากการทดสอบก่อนเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 44.79 หลังจากที่นักเรียนได้ใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรียนคณิตคิดเร็วนักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณมากขึ้นเมื่อมาถึงทดสอบหลังเรียน ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ร้อยละ 77.60 ซึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
อภิปรายผล
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องเศษส่วน ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏผลการศึกษาค้นคว้าดังนี้
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้น้อย (ร้อยละ 44.79 ) และทดสอบหลังเรียน (ร้อยละ 77.60 ) คะแนนของผู้เรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับ การสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพบว่าผู้เรียนมีทักษะในการคิดคำนวณดีขึ้น และได้คำตอบที่ถูก ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เป็นไปตามสมมุติฐาน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะการคิดคำนวณ ให้คิดคำนวณได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เพิ่มความชำนาญในการในการคิดคำนวณ ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนสูงขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้สรุปได้ว่า หลังจากการเรียนโดยใช้วิธีสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น
ระยะเวลา
ปฏิทินการวิจัย
กิจกรรม ระยะเวลา
1. สร้างเครื่องมือ
- นวัตกรรม
- แบบประเมิน
2. จัดกิจกรรม
3. ประเมิน
4. สรุปผล
5. เขียนรายงาน
9-11 ธันวาคม 2556
14-18 ธันวาคม 2556
21-22 ธันวาคม 2556
23-24 ธันวาคม 2556
25-29 ธันวาคม 2556
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปหาแนวทางในการจัด
การเรียนการสอน
2. ควรมีการวิจัยเรื่องอื่นๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จได้รับการสนับสนุนจาก นายยงยุทธ ขัดผาบ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสวนดอก ที่ได้ให้คำแนะนำและติดตามการทำงานวิจัยอย่างใกล้ชิด ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้ง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณคณะครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และท่านอื่นๆ ที่สนับสนุนและให้กำลังใจในการดำเนินการวิจัยและขอขอบใจนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ช่วยตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจ เพื่อให้เห็นถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยขอแสดงความขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
นายชัชวาล ธิมา