บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น
ผู้วิจัย นางสาวสุรีรัตน์ ตุลสุข
โรงเรียน โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่วิจัย 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
การวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 ที่ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ก่อนและหลังจากที่ได้รับการสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ การเขียนสรุปความภาษาไทยโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการทดลอง ซึ่งนิทานแต่ละเรื่องมีเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ จรรโลงใจ มีแง่คิดด้านคุณธรรมจริยธรรม เหมาะสมกับวัย จำนวน 12 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง นกกระจาบแตกสามัคคี เนื้อกวางของนายพราน สัตว์เกียจคร้าน ขุดหาน้ำกลางทะเลทราย ม้าศึกกับทหารม้า คางคกเจ้าปัญญา เพื่อนตาย พญาเนื้อทอง พญาช้างเผือก ผู้กตัญญู เมืองหนู และนิทานไม่รู้จบ ซึ่งในการสอนทั้ง 2 วิธี ประกอบด้วย 12 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 12 ชั่วโมง รวมทั้งสองวิธี เป็น 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 55 คน ทดลองโดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์ และกลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 จำนวน 54 คน ทดลองโดยใช้การสอนแบบ KWL-Plus โดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ทั้งนี้เพราะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่ละห้องเรียนจัดแบบคละความสามารถในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus (2) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.55/84.53 และ 85.14/85.16 และมีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.68 และ 0.69 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ที่เรียนโดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับการสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 ซึ่งนักเรียนมีความคิดเห็นว่า แต่ละกิจกรรมมีคำชี้แจงให้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นขั้นตอนชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่สับสน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนิทานที่ประกอบในแต่ละบทเรียนน่าสนใจและชวนติดตาม และมีการทดสอบทุกแผนการเรียนรู้ ตามลำดับ